Page 10 - E-book2
P. 10

ศาสตราจารย์หวังรั่วเจียง  ศูนย์ภาษาจีน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง“ก่อนเข้าเฝ้าฯ ครั้งแรก

            ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นมาก …ข้าพเจ้าตระเตรียมวิธีการประนมมือ  ปลายนิ้วจรดจมูกเพื่อ

            ถวายบังคมการณ์ กลับเป็นว่า ทรงยื่นพระหัตถ์จับมือพวกเราเขย่าแรง ๆ (ตามแบบธรรม

            เนียมทักทายของจีน)  ความประหม่าทั้งมวลที่มีอยู่จึงมลายหายไปสิ้น  เจ้าฟ้าหญิงผู้วาง
            พระองค์เยี่ยงสามัญชน  เจ้าฟ้าหญิงผู้ให้ความนับถือต่อธรรมเนียมของต่างชาติ  คงจะไม่

            ลําบากนักที่จะเข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิด” อู๋เสี่ยวฟัง อาจารย์ปะจําวิทยาลัยการดนตรีจีน


                    สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

            ทรงมีพระราชทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาอย่างรอบด้าน ทั้งที่ทรงได้รับพระราชทานแง่คิดจาก
            การดําเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ

            พระบรมราชินีนาถ  และจากที่ทรงมีโลกทัศน์ที่เปิดกว้างต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ทรงพบเห็น

            ดังข้อความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ “สมเด็จแม่กับการศึกษา” ที่ว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าคํา

            “การศึกษา” เป็นคําที่กว้างขวางมากสิ่งที่เราเรียนรู้ถ่ายทอดจากกันก็ล้วนเป็น“การศึกษา”

            ทั้งสิ้น คนเรานั้นเหมือนกันหมดคือ ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกและความ
            ฝันของตน ไม่ให้สูญสลายไป” “สมเด็จแม่มีรับสั่งอยู่เสมอว่า จะต้องทําให้คนไทยมีโอกาส

            เล่าเรียนสูงที่สุดเท่าที่จะทําได้และให้มากที่สุด ถึงแม้ช่วยแล้วเขายังไม่สามารถที่จะเรียนสูง

            ไปมากในระบบ  แต่เมื่อเขาอ่านออกเขียนได้ เราก็ยังพอจะหาเอกสารที่เกี่ยวกับการทํามา

            หากิน      การดําเนินชีวิตในโลกสมัยใหม่ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนี้ส่งให้เขา  เขายังจะมี

            โอกาสปรับปรุงตัวให้ก้าวหน้าได้ในระบบการศึกษานอกโรงเรียน”  อย่างไรก็ดี  สมเด็จ

            พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเน้นย้ํา

            มากว่า  การอ่านเป็นวิถีทางสําคัญในการพัฒนาความรู้  ซึ่งทุกคนสามารถกระทําได้อย่าง
            ต่อเนื่องตลอดชีวิต              ดังนั้นหน้าที่สําคัญนอกเหนือไปจากการให้ความรู้แล้ว

            สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนจําเป็นจะต้องปลูกฝังให้เยาวชนรักการอ่าน ดังข้อความตอน

            หนึ่งใน พระราชนิพนธ์ รัตนพินิจ นิทิศการศึกษา ที่ว่า  “…เรื่องให้นักเรียนค้นคว้าหา

            ความรู้ช่วยตนเองเป็นเรื่องของปรัชญาความคิดเพื่อพัฒนานักเรียน  …วิธีการหนึ่งที่เขาใช้

            กันเรื่องการศึกษาที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือต้องมีงบประมาณหรือต้องเรี่ยไรให้มี
            ห้องสมุดสําหรับนักเรียน เราต้องปลูกฝังนักเรียนให้รู้สึกอยากอ่าน”
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15