Page 9 - E-book2
P. 9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงเริ่มเรียนภาษาจีนเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยได้รับแรงจูงใจจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ โดยมีอาจารย์จังเยี่ยนชิว จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งเดินทางมาเป็นพระ
อาจารย์ถวายพระอักษรจีนคนแรก จากนั้นทรงมีพระอาจารย์ชาวจีนอีกหลายคน ทั้งยัง
ทรงเสด็จพระราชดําเนินไปศึกษาภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อปี
พ.ศ. 2544 ปัจจุบันทรงพูดภาษาจีนได้ดี อ่านได้คล่อง จนมีพระราชนิพนธ์แปลวรรณกรรม
จีนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
โดยพระราชนิพนธ์แปลภาษาจีนที่พิมพ์เผยแพร่เล่มแรกในเดือนกันยายน พ.ศ.
2537 นวนิยายเรื่อง หูเตี๋ย หรือ “ผีเสื้อ” ของหวังเหมิ่ง นักประพันธ์ชื่อดังของจีน ผู้ซึ่งเคย
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นวนิยายเรื่องนี้บันทึกความเปลี่ยนแปลงของ
สังคมจีนช่วง พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2522
เล่มที่สองเป็นนวนิยายชื่อ สิงอวิ๋นหลิวสุ่ย หรือ “เมฆเหิน น้ําไหล” พิมพ์ในปลาย
พ.ศ. 2539 สะท้อนภาพสังคมจีนช่วงสี่ทันทันสมัย (พ.ศ. 2521 – ปัจจุบัน ผู้ประพันธื่อ
ฟังฟัง เป็นนักเขียนสตรีรุ่นใหม่ในกลุ่มแนวหน้า ส่วนเล่มที่สาม เป็นพระราชนิพนธ์แปลบ
ทกวีจีนโบราณจํานวน 34 บท พิมพ์รวมเล่มเมื่อปี พ.ศ. 2541 ใช้ชื่อว่า “หยกใสร่ายคํา”
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงได้รับรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน จากกระทรวงศึกษาธิการประเทศจีน
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งถือเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ เนื่อง
เพราะในสายตาของชาวจีนทรงเป็นที่รักใคร่ชื่นชม และถือว่าพระองค์เป็นทูตสันถวไมตรี
ของทั้งสองประเทศ ทําให้จีนและไทยมีความเข้าใจและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
โดยล่าสุดปี พ.ศ. 2547 นี้ ทรงเสด็จพระราชดําเนินเยือนประเทศจีนครบทุกมณฑลแล้ว
ในสายตาของพระอาจารย์ชาวจีนทุกคนล้วนปลาบปลื้ม ชื่นชม ภาคภูมิใจให้แก่ทุกคน
โดยจะเห็นได้จากเมื่อทรงเสด็จพระราชดําเนินเยือนประเทศจีนครั้งใด ก็จะเสด็จฯไปพบ
พระอาจารย์ที่เคยสอนพระองค์ทุกครั้งความชื่นชมดังกล่าวปรากฏในหนังสือ “รอยพระ
บาทยาตราสาราจีน” ซึ่งเป็นการแปล จากหนังสือรวมข้อเขียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัย
ปักกิ่งและเจ้าหน้าที่จีน ซึ่งได้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดําเนินไปทรงพระอักษรด้านจีนวิทยา ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 15 มีนาคม 2544 ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “พวกเราผู้ถวาย
พระอักษรในสาขาต่าง ๆ ล้วนรู้สึกว่า ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาญาณเป็นที่ยิ่ง ซึ่งย่อมต้องมี
ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการที่ทรงได้รับการบ่มเพาะด้านวัฒนธรรมมาอย่างดี สิ่งที่ประทับใจ
เรายิ่งกว่าก็คือ พระปณิธาน ในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา”