Page 8 - E-book2
P. 8

ความเป็น  “หนอนหนังสือ”  ใฝ่รู้รักการอ่านผสานกับพระอัจฉริยภาพในการ

            ประพันธ์ จึงผลิผลเป็น พระราชนิพนธ์จํานวนมาก ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง หลากเรื่องหลาย

            รสเป็นสมบัติทางปัญญาแก่วงการหนังสือ ดังเช่น

                    “พุทธศาสนสุภาษิตคําโคลง”  เป็นพระราชนิพนธ์เล่มแรกที่จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปลายปี

            พ.ศ. 2519 โดยธนาคารนครหลวงไทยเป็นผู้จัดพิมพ์ เพื่อนํารายได้มอบให้กับมูลนิธิสายใจ

            ไทย  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

            ทรงเล่าถึงที่มาว่า ขณะทรงเรียนชั้น ม.ศ.4  -  5  ได้แปลพุทธศาสนสุภาษิตไว้ 2  บท

            ครั้น พ.ศ. 2517  ขณะศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์  จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2  ทรงอ่านหนังสือพุทธ
            ศาสนสุภาษิตของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นหลักสูตร

            นักธรรมแล้วทรงโปรดมาก จึงผูกเป็นโคลงวันละบทสองบท จึงได้โคลงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวม

            45 บท นํามาทําเป็นเอกสารโรเนียว ก่อนจะพิมพ์เป็นเล่มจําหน่ายในเวลาต่อมา


                    พระราชนิพนธ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจํานวนมาก  โดยจาก
            ปลายปี 2519 ถึงปี 2520 มีการพิมพ์ซ้ําถึง 5 ครั้ง และนับแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาก็มี

            การ      พิมพ์พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ

            รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ออกสู่ตลาดหนังสือทุกปี จนถึงปัจจุบันรวมแล้วกว่า

            100 ชื่อเรื่อง

                    สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

            ทรงเห็นถึงความสําคัญของหนังสือและการอ่านต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนเป็น

            อย่างยิ่ง ดังข้อความจากพระราชนิพนธ์เรื่อง “ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า” พ.ศ. 2519

            ที่ว่า“วัยเด็กเป็นวัยเรียนรู้  ถ้าเรามีหนังสือที่มีคุณค่าทั้งเนื้อหาและรูปภาพให้เขาอ่าน

            ให้ความรู้และความบันเทิง เด็ก ๆ จะได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์  ที่รอบรู้ มีธรรมะ

            ประจําใจ มีความรักบ้านเมือง มีความปรารถนาจะทําแต่ประโยชน์ที่สมควร”

                    ทั้งนี้ได้ทรงพระราชทานหนังสือแก่โรงเรียนในถิ่นกันดาร เพื่อให้เยาวชนที่ยากจนได้

            มีโอกาสในการพัฒนาตนเองเพิ่มพูนความรู้จากการอ่าน                       ส่วนพระราชนิพนธ์ด้าน

            วรรณกรรมเยาวชน ทรงใช้นามแฝง “แว่นแก้ว” เนรมิตเรื่องราวของเด็กหญิงจอมแก่นที่

            ชื่อ “แก้ว”  ขึ้นมาพร้อมครอบครัวอันแสนอบอุ่น  ซึ่งนอกจากจะสร้างความสนุกสนานใน

            การอ่านแล้ว  ยังทําให้เยาวขนที่ได้อ่านได้รับข้อคิดในการดําเนินชีวิตที่เหมาะสมอีกด้วย
            นอกจากนี้นามแฝง “แว่นแก้ว” ยังทรงใช้ในการแปลวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “ขบวนการ

            นกกางเขน” จากเรื่อง Rossignols en Cage ของ Madeleine Treherme ในปี พ.ศ.

            2521 ด้วย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13