Page 109 - เอกสารฝนหลวง
P. 109
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
ประเทศไทยจึงได้รับการติดต่อขอความร่วมมือช่วยเหลือให้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ประสบการณ์
และความชํานาญในด้านกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวง ทั้งในระดับ
ทวิภาคีและระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นตามลําดับ นอกจากนั้นยังได้รับเชิญจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญฝนหลวงเข้าร่วมในการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการดัดแปรสภาพอากาศเป็นครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ. 2522 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ฝนหลวงเข้าไปมีบทบาท
ด้านการดัดแปรสภาพอากาศในระดับนานาชาติ การเข้าร่วมประชุมว่าด้วยการดัดแปรสภาพอากาศ
ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก เช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ASEAN SUBCOMMITTEE
ON CLIMATOLOGY และ NASA รวมทั้งองค์กรในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น NOAA NCAR BUREC
แห่งสหรัฐอเมริกา องค์การ INTERA แห่ง CANADA ในทวีปเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นต้น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีประเทศสมาชิกจากทั่วโลก ได้จดทะเบียน
ให้ประเทศไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ (การทําฝน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2525
คณะอนุกรรมการว่าด้วยภูมิอากาศแห่งอาเซียนและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้มีมติให้ประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางการดัดแปรสภาพอากาศในภูมิภาคเขตร้อน เมื่อ พ.ศ. 2527 และยังมีมติยืนยันหนักแน่น
ยิ่งขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2537 ทําให้ประเทศไทยได้เข้าไปมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในกิจกรรมการดัดแปร
สภาพอากาศ ในระดับนานาชาติและระดับโลก รวมทั้งการเข้าร่วมในการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นโดย
ความร่วมมือขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ทั้งในต่างประเทศและในประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดมา
ในการจัดการประชุมเมื่อ พ.ศ. 2542 ประเทศไทยได้รับเกียรติจาก WMO ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
นานาชาติ ว่าด้วยการดัดแปรสภาพอากาศ ครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยได้รายงาน ยืนยันผลสัมฤทธิ์
ประสิทธิภาพในการทําฝนจากเมฆเย็นและเมฆอุ่นจนเป็นรายงานที่มีความน่าสนใจที่สุด และเป็นที่ยอมรับ
จากนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่เข้าร่วมประชุมให้เป็น 1 ใน 3 จากรายงานทั้งหมดของประเทศที่เสนอ
รายงานต่อที่ประชุม
นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งมีผลงาน
เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวโรกาสต่างๆ ต่างตระหนัก
และกล่าวในทํานองเดียวกันถึงพระปรีชาสามารถ ว่าทรงรอบรู้ในวิทยาการด้านอุตุนิยมวิทยาอย่างลึกซึ้ง
และพระอัจฉริยภาพที่ทรงนํามาประยุกต์ใช้ในการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนได้อย่างยอดเยี่ยม
พระเกียรติคุณทั้งมวลที่กล่าวข้างต้น โครงการฝนหลวง จึงได้รับการเผยแพร่ไปสู่การเรียนรู้
และยอมรับในมวลหมู่มิตรประเทศทั่วโลกอย่างแน่นอน จนหลายองค์กรระหว่างประเทศและนานาชาติ
ได้สดุดีและน้อมเกล้าฯ ถวายรางวัลยอดเยี่ยมอันเป็นเลิศ และสัญลักษณ์พร้อมทั้งประกาศนียบัตร
เชิดชูพระเกียรติในพระปรีชาสามารถ และพระอัจฉริยภาพ ดังเป็นที่ประจักษ์ และทราบกันอย่างแพร่หลาย
ในปัจจุบัน
ดังเอกสาร “สรุปความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสรุปความร่วมมือระหว่างประเทศ” ในหน้าถัดไป
54