Page 113 - เอกสารฝนหลวง
P. 113
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
สรุปความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวงกับ SCC (ASEAN Sub – Committee on Climatology)
สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวงได้เข้าร่วมกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศภายใต้ SCC เมื่อปี
พ.ศ. 2522 ภายหลังที่ประเทศมาเลเซียได้เสนอ papers โครงการการดัดแปรสภาพอากาศในบริเวณ
ASEAN และในปี พ.ศ. 2534 SCC ได้มี Recommendation ในเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมการดัดแปร
สภาพอากาศรวม 3 ข้อ
1.1 ให้จัดตั้งกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสําหรับการศึกษาวิจัยงานทดลองดัดแปรสภาพอากาศ
ในบริเวณกลุ่ม ASEAN
1.2 ให้จัดประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง Cloud Seeding and Evaluation Techniques โดยเร็ว
1.3 ให้ติดต่อขอความร่วมมือด้านวิชาการและค่าใช้จ่ายในด้านเกี่ยวกับการจัดสัมมนาดังกล่าว
จาก WMO/UNDP
ในปี พ.ศ. 2524 – 2525 สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวงได้ตอบแบบสอบถามในเรื่องเกี่ยวกับ
กิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศให้กับ WMO
ดังนั้น 9 – 16 ธันวาคม 2527 ประเทศไทย สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวง จึงได้เป็น
ประเทศเจ้าภาพ (Host Country) สําหรับการประชุมสัมมนา “The First ASEAN Seminar on Weather
Modification and Evaluation Techniques”
2. สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวงกับ USA/CANANDA
ความสัมพันธ์ระหว่าง สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวงกับองค์การการดัดแปรสภาพอากาศ
ใน USA และ CANADA นี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก
2.1 The First ASEAN Seminar on Weather Modification and Evaluation Techniques
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2527
2.2 การเข้าร่วมประชุม The Fourth WMO Scientific Conference on Weather Modification
และการดูงาน/การเจรจาธุรกิจของ ผู้อํานวยการสํานักงานปฏิบัติการฝนหลวงและท่านที่ปรึกษา
ด้านพัฒนาวิชาการฝนหลวงบางท่าน เมื่อ 11 – 30 สิงหาคม 2528
2.3 การเข้าร่วมประชุม The Tenth Conference on Weather Modification ซึ่งจัดโดย
American Meteorological Society และการดูงาน/การเจรจาธุรกิจของผู้อํานวยการสํานักงาน
ปฏิบัติการฝนหลวงทั้งใน USA และ CANADA ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 8 มิถุนายน 2529
ทําให้ทั้ง WMO/USA/CANADA ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการดัดแปรสภาพอากาศ
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มาศึกษาความเป็นไปได้และประเมินกิจกรรมของสํานักงาน
58