Page 111 - เอกสารฝนหลวง
P. 111
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
สรุปความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศ
นับแต่เริ่มโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามการร้องขอ
ของแต่ละมิตรประเทศ ทั้งด้านการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และ
การปฏิบัติการสาธิต ทั้งโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญไทยออกไปและส่งนักวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศ
เข้ามา สุดแล้วแต่จุดประสงค์ของแต่ละประเทศมาโดยตลอด พอสรุปได้ดังนี้
1. ในปี พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสเกี่ยวกับความพยายาม
ในการค้นคว้าทดลองการทําฝนในประเทศไทยแก่นักวิทยาศาสตร์ระดับผู้เชี่ยวชาญ (Dr. Forester)
และคณะเอกอัครราชทูตประเทศออสเตรเลีย ณ ศาลาที่ประทับ สนามบินบ่อฝ้าย อําเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2. วันที่ 19 ตุลาคม 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงควบคุมบัญชาการ การปฏิบัติการ
ฝนหลวงสาธิต ณ สนามบินบ่อฝ้าย อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และโปรดเกล้าฯ ให้
นักวิทยาศาสตร์ เข้าเฝ้าฯ ณ สันเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งทรงใช้เป็นฐานบัญชาการ
การปฏิบัติการสาธิต เพื่อรับพระราชทานข้อแนะนําและสังเกตการณ์ ขั้นตอน กรรมวิธี ที่ทรงบัญชาการ
อย่างใกล้ชิด เป็นที่ประจักษ์ด้วยสายตาตนเอง (ผู้แทนรัฐบาลสิงคโปร์) โดยทรงกําหนดให้อ่างเก็บนํ้า
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีเป็นพื้นที่เป้าหมายที่เล็ก ยากลําบาก และท้าทาย แต่ทรงสามารถ
ทําให้ฝนตกลงสู้พื้นที่เป้าหมายได้อย่างแม่นยํา เป็นที่อัศจรรย์แก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์
3. อินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519, 2521, 2523, 2524, 2525, 2527, 2529, 2534, 2535, 2536,
2540, 2541
4. มาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2520, 2522, 2524, 2526, 2529
5. ศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2523, 2524
6. บังคลาเทศ ในปี พ.ศ. 2539
7. ปากีสถาน 2539
8. สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2528, 2529
9. ฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2526, 2538, 2540
10. ผู้แทนกลุ่มประเทศอาเซียน ในปี พ.ศ. 2526
11. ผู้แทนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ในปี พ.ศ. 2527, 2530
12. ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2528, 2529
13. ผู้เชี่ยวชาญแคนาดา ในปี พ.ศ. 2528, 2529
14. โอมาน ในปี พ.ศ. 2530
15. ส่งผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญของไทยไปดูงานและเจรจาความร่วมมือในต่างประเทศ ในปี
พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2530
16. แอฟริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2539
56