Page 316 - เอกสารฝนหลวง
P. 316

ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ                                                                            เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง


                                         เตรียมสารท าฝน   ที่ผ่านการปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง   และปฏิบัติการ

                   ท าฝนหวังผลอย่างสัมฤทธิ์ผลมาแล้วจนมั่นใจ   โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ในปฏิบัติการในครั้งนี้  และ ให้เรียกชื่อ
                   สารท าฝนเป็นรหัสเรียกขาน  คือ


                                      สูตร  1  :  เป็นรหัสเรียกขานผงเกลือแป้ง (Sodium  Chloride  Powder–NaCl)

                   ผลิตจากน ้าทะเล  จัดอยู่ในกลุ่มแกนกลั่นตัวของเมฆ (Cloud Condensation Nuclei)

                                      สูตร 2  :  เป็นรหัสเรียกขานสารฝนหลวง ในรูปสารละลายเข้มข้น ได้แก่สารละลาย

                   เกลือทะเลเข้มข้น หรือน ้าทะเลเข้มข้น หรือสารละลายยูเรียเข้มข้น จัดอยู่ในกลุ่มแกนกลั่นตัว (Cloud

                   Condensation Nuclei)


                                      สูตร  3  :  เป็นรหัสเรียกขานน ้าแข็งแห้ง (Dry Ice – Liquid  Carbondioxide)

                   ซึ่งอุณหภูมิเย็นยิ่งยวดประมาณ  -78  องศาเซลเซียส  จัดอยู่ในกลุ่มเย็นยิ่งยวด  (Super  cooled)

                                      สูตร  4  :  เป็นรหัสเรียกขานยูเรีย (Urea) ในรูปผง (Urea Powder) จัดอยู่ในกลุ่ม

                   แกนเย็น (Endothermic  Nuclei)


                                      สูตร  6  :  เป็นรหัสเรียกขานแคลเซี่ยมคลอไรด์ (Calcium Chloride) ในรูปผง
                   จัดอยู่ในกลุ่มแกนร้อน (Exothermic  Nuclei)


                                     ก าหนดพื้นที่เริ่มต้นปฏิบัติการ  ตามขั้นตอนที่ทรงก าหนดไว้ในแผนฯ ประจ าวัน

                   พระราชทาน  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่เหนือลมของจุดศูนย์กลางของพื้นที่เป้าหมายหวังผลที่ก าหนดไว้ใน

                   แผนที่วางแผน   ก าหนดและลากเส้นแนวโปรยสารท าฝนในพื้นที่เริ่มต้นดังกล่าวให้ตั้งฉากกับแนว
                   ทิศทางลมที่ลากเส้นมุ่งเข้าสู่จุดศูนย์กลางพื้นที่เป้าหมายที่ก าหนดไว้แล้วดังกล่าว   โดยให้จุดศูนย์กลาง

                   แนวโปรยฯ อยู่บนเส้นทิศทางลมที่ผ่านจุดศูนย์กลางพื้นที่เป้าหมายหวังผล   รวมทั้งที่ก าหนดความยาว

                   ของแนวโปรยให้พอดีกับปริมาณสารท าฝน   สมรรถนะในการบรรทุกน ้าหนักสุทธิของเครื่องบินจะ
                   สามารถบินขึ้นไปปฏิบัติได้


                                     ก าหนดช่วงเวลาเริ่มต้นโปรยสารท าฝนในขั้นตอนเริ่มต้น   หรือในขั้นตอน

                   การก่อให้เกิดเมฆ  (ขั้นตอนที่ 1)  ในช่วงเวลา  08 : 00 – 09: 00 น.  ซึ่งเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ใน
                   อากาศตั้งแต่ผิวพื้น จนถึงระดับเริ่มต้นกลั่นตัว  (LCL)  และระดับฐานเมฆที่เกิดจากการรวมตัวเป็นเมฆก้อน

                   เนื่องจากกระแสไหลพาความร้อน  (CCL)  อยู่ในเกณฑ์สูงกว่า  60%  ง่ายต่อการก่อเกิดเมฆ   นอกจากนั้น

                   พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการทอดยาวไปตามชายฝั่งทะเลด้านใต้   ความชื้นสัมพัทธ์และแกนกลั่นตัวที่ผลิต

                   จากทะเลถูกพัดพาเข้าไปเสริมชื้นสัมพัทธ์และแกนกลั่นในอากาศเหนือชายฝั่งทะเลด้วยแล้ว  ยิ่งช่วยให้
                   การก่อตัวของเมฆมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ฉะนั้นการปฏิบัติการในครั้งนี้ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากพื้นที่

                   ชายทะเลเป็นส่วนใหญ่   เมื่อทิศทางลมเป็นฝ่ายตะวันออก  หรือฝ่ายตะวันออกเฉียงใต้  หรือฝ่ายใต้




                                                            270
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321