Page 53 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 53

๔๔




                          ¡Òè´·ÐàºÕ¹ÃѺÃͧºØμÃ
                          ในระหวางการสมรส สามีภรรยาที่จดทะเบียนถูกตองตามกฎหมายและมีบุตรดวยกันถือวา

              บุตรผูนั้นเปนบุตรที่ชอบดวยกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิ์ใชชื่อสกุลของบิดา แตหากไมมีการจดทะเบียนสมรสกัน
              ถือวาบุตรที่เกิดนั้นเปนบุตรนอกสมรส หรือหากบิดาไมปรากฏ บุตรนั้นมีสิทธิ์ใชชื่อสกุลของมารดา
              ซึ่งโดยกฎหมายจะถือวาบุตรนั้นเปนบุตรที่ชอบดวยกฎหมายของมารดาเสมอ บุตรนอกสมรสจะเปน

              บุตรที่ชอบดวยกฎหมายของบิดาไดตอเมื่อปฏิบัติตามที่กฎหมายกําหนดไวดังนี้
                          ๑.  เมื่อบิดามารดาจดทะเบียนกันภายหลัง

                          ๒.  เมื่อบิดาไดใหการจดทะเบียนรับรองวาเปนบุตร
                          ๓.  เมื่อศาลพิพากษาวาเปนบุตร

                          ในการจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น บิดา มารดา และบุตรจะตองไปที่วาการอําเภอ
              หรือสํานักงานเขต ถามารดาและบุตรไมไดไปดวย นายทะเบียนผูรับจดจะแจงไปยังฝายที่ไมมา

              เพื่อมาใหความยินยอมหรือคัดคานการขอจดทะเบียนนั้น ถาพน ๖๐ วัน นับแตวันที่นายทะเบียน
              แจงไปถึง ถือวาไมมีการคัดคาน นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนให ถามารดาและบุตรอยูตางประเทศ
              ก็จะขยายเวลาไปเปน ๑๘๐ วัน เมื่อบิดาไดจดทะเบียนรับรองบุตรแลว บุตรนั้นยอมเปนบุตรที่ชอบ

              ดวยกฎหมายของบิดา นับแตวันที่จดทะเบียนนั้นไป
                          ¡ÒÃÃѺºØμúØÞ¸ÃÃÁ

                          ผูรับบุตรบุญธรรมตองมีอายุไมตํ่ากวา ๒๕ ป และผูนั้นจะตองมีอายุมากกวาผูที่จะ
              เปนบุตรบุญธรรมอยางนอย ๑๕ ป การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณตอเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมาย

              โดยตองรองขอตอศาลเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม โดยบุตรบุญธรรมยอมมีฐานะเชนเดียวกับบุตรที่ชอบ
              ดวยกฎหมายของผูรับบุตรบุญธรรมนั้น แตก็ไมเสียสิทธิและหนาที่ในครอบครัวตอบิดามารดาที่แทจริง

              ของตน เพียงแตบิดามารดาโดยกําเนิดหมดอํานาจปกครองนับแตเวลาที่ผูนั้นไปเปนบุตรบุญธรรม
              ของผูอื่นแลวเทานั้น สวนสิทธิในการรับมรดกนั้น บิดามารดาโดยกําเนิดยังคงมีสิทธิรับมรดกของบุตร
              ผูนั้นอยู ในทํานองเดียวกันบุตรก็ยังคงมีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาโดยกําเนิดของตนเชนกัน



              ¡®ËÁÒÂÇ‹Ò´ŒÇÂÁô¡

                          ในปจจุบันกฎหมายมีความสําคัญกับชีวิตมนุษยตั้งแตแรกเกิดจนกระทั่งตาย และกฎหมาย
              ในเรื่องมรดกก็นับวาเปนเรื่องสําคัญอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายจึงตองเขามาวางหลักในเรื่องมรดกของผูตาย
              มรดก หมายถึง ทรัพยสินทุกชนิดของผูตาย ตลอดทั้งสิทธิ หนาที่ และความรับผิดชอบตาง ๆ เชน สิทธิ

              ตามสัญญาซื้อขาย สิทธิในการไถถอนการขายฝาก เปนตน เมื่อบุคคลไดถึงแกความตาย ทรัพยสิน
              ทุกอยางที่มีในขณะนั้นถือวาเปนมรดกที่จะตกทอดไปยังทายาทโดยธรรมหรือผูรับพินัยกรรม

              เวนแตสิทธิบางอยางซึ่งเปนสิทธิเฉพาะตัว ถือวาสิทธินั้นเปนอันสิ้นไปเมื่อบุคคลนั้นไดตายไป
              อยางไรก็ตาม การใชกฎหมายในเรื่องมรดกของไทยนั้นไมใชกับ ๔ จังหวัดภาคใต คือ ปตตานี นราธิวาส

              ยะลา และสตูล ในกรณีที่โจทกและจําเลยเปนคนอิสลาม
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58