Page 10 - 10_พระราชบญญตตำรวจแหงชาต2547_Neat
P. 10

๓




                 เพื่อนชาวอังกฤษจากอินเดียมารวมงาน โดยไดปรับปรุงกิจการตํารวจใหกาวหนาขึ้นตามแนวทางตํารวจ
                 อินเดีย

                             พ.ศ.๒๔๔๕ รัชกาลที่ ๕ ไดทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานพระบรมราชานุญาตให
                 จัดตั้งโรงเรียนนายรอยตํารวจตามความกราบบังคมทูลของสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารง

                 ราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) ซึ่งถือเปนพระมหากรุณาธิคุณอันลนพนแก
                 เหลาผูเรียนนายรอยตํารวจและขาราชการตํารวจทุกนาย ดวยเหตุนี้สํานักงานตํารวจแหงชาติจึงถือวา

                 วันที่ ๑๙ เมษายนของทุกป เปนวันพระราชทานกําเนิดโรงเรียนนายรอยตํารวจ และเพื่อนอมรําลึกถึง
                 พระมหากรุณาธิคุณแหงองคผูพระราชทานกําเนิดโรงเรียนนายรอยตํารวจ ทางโรงเรียนนายรอยตํารวจ

                 จึงจัดสรางพระบรมราชานุสาวรียพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวรัชกาลที่ ๕ ประดิษฐาน ณ
                 โรงเรียนนายรอยตํารวจ อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและเพื่อเปน

                 ที่เคารพสักการะของเหลาผูเรียนนายรอยตํารวจ ขาราชการตํารวจและพสกนิกรทั่วไป
                             พ.ศ.๒๔๔๗ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานโปรดเกลาฯ ให มหาอํามาตยโท อิริก เซ็นต เย ลอสัน
                 (M. Eric St. Lawson) เปนอธิบดีกรมตระเวน เดิมเปนชาวอังกฤษเขามารับราชการเปนผูบังคับการ

                 กรมตระเวน และไดปรับปรุงกิจการตํารวจหลายประการเริ่มตั้งแตจัดตั้งกองพิเศษซึ่งมีระบบทํางาน
                 คลายกับกองสืบสวนคดีของตํารวจในลอนดอน

                             พ.ศ.๒๔๕๖ รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกลาฯ ใหพลตรีพระยาวาสุเทพ (G. Schau) เปนอธิบดี
                 กรมตํารวจภูธร เดิมเปนนายทหารไทยยศรอยเอก มีบรรดาศักดิ์เปนหลวงศัลวิชานนิเทศ ตอมาไดเลื่อนยศ

                 เปนพลตรี ไดเลื่อนบรรดาศักดิ์เปนพระยาวาสุเทพ และเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ไดโอนมารับราชการตํารวจ
                 ในตําแหนงเจากรมกองตระเวนหัวเมือง และนับไดวาเปนผูจัดตั้งกองตํารวจภูธร

                             ÃѪ¡ÒÅ·Õè ö ¾ÃÐÃÒª·Ò¹ “à¤Ã×èͧËÁÒÂáË‹§¡ÒÃ໚¹μíÒÃǨ”
                             ในป พ.ศ.๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๖ ไดทรงพระกรุณา

                 โปรดเกลาฯ ตราเครื่องหมายโลกับดาบเปนเครื่องหมายประจํากรมพลตระเวน และตอมา พ.ศ.๒๔๕๔
                 ไดพระราชทานพระบรมราชานุญาตใหใชตราพระแสงโลเขนประกอบที่มุมธงประจํากรมตํารวจภูธร

                 อันเปนที่มาของเครื่องหมายตราโลเขนซึ่งถือเปนสัญลักษณแหงการเปนตํารวจมาจนทุกวันนี้
                             ทั้งนี้ เนื่องจากกิจการตํารวจในยุคแรกๆ นั้น ไดมีการแบงแยกหนาที่ออกเปน ๒ สวน คือ

                 กรมพลตระเวนกับกรมตํารวจภูธร โดยกรมพลตระเวนขึ้นกับกระทรวงพระนครรับผิดชอบดูแลพื้นที่
                 ในเขตมณฑลกรุงเทพมหานคร อันเปนตนกําเนิดของตํารวจนครบาลในปจจุบัน

                             สวนกรมตํารวจภูธร รับผิดชอบพื้นที่หัวเมืองสวนภูมิภาคและขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
                 ซึ่งเปนตนกําเนิดของตํารวจภูธรในปจจุบัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๖ จึงไดมี
                 พระบรมราชโองการประกาศรวมกรมพลตระเวนกับกรมตํารวจภูธรเขาเปนกรมเดียวกัน ในวันที่ ๑๓

                 ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๘ เรียกวา “กรมตํารวจภูธรและกรมพลตระเวน” โดยใหสังกัดกับกระทรวงพระนครบาล

                 ดวยเหตุนี้จึงถือวาวันที่ ๑๓ ตุลาคมของทุกปเปนวันตนกําเนิดของ “ตํารวจ”
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15