Page 15 - 08_กฎหมายอาญา_Neat
P. 15

๒




              ๓.  เนื้อหา

              ๓.๑  ความหมายของกฎหมายอาญา
                         กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติวา การกระทําหรือไมกระทําอยางใดเปนความผิด

              และกําหนดโทษที่จะลงแกผูกระทําความผิดไวดวย หรืออาจกลาวไดวา กฎหมายอาญาคือกฎหมายที่
              บัญญัติหามมิใหมีการกระทําอยางหนึ่งอยางใด หรือบังคับใหมีการกระทําอยางหนึ่งอยางใดโดยผูที่

              ฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามจะตองไดรับโทษ ดังนั้น กฎหมายอาญาจะมี ๒ กรณี คือ เปนบทบัญญัติที่
                         ๓.๑.๑  หามมิใหมีการกระทําอยางหนึ่งอยางใด ผูที่ฝาฝนก็จะมีความผิด เชน ฆาผูอื่น

              (มาตรา ๒๘๘) ขมขืนกระทําชําเรา (มาตรา ๒๗๖) ลักทรัพยผูอื่น (มาตรา ๓๓๔) เปนตน หรือ
                         ๓.๑.๒  บังคับใหมีการกระทําอยางหนึ่งอยางใด ผูที่ไมปฏิบัติตามก็จะมีความผิด เชน

              มาตรา ๓๗๔ เห็นผูอื่นตกอยูในอันตรายแหงชีวิต ซึ่งตนสามารถชวยไดแตไมยอมชวย ซึ่งเรียกวา
              การกระทําดวยการละเวน

                         กฎหมายอาญานั้นนอกจากที่ปรากฏอยูในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งถือวาเปนกฎหมาย
              อาญาหลักของประเทศแลว ยังรวมถึงกฎหมายอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมีลักษณะดังกลาวขางตน เชน

              พระราชบัญญัติอาวุธปน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติปรามการคาประเวณี ซึ่งเมื่อ
              ถือวาพระราชบัญญัตินั้น ๆ เปนกฎหมายอาญาแลวจะมีผลทําใหตองนําบทบัญญัติในภาค ๑ แหง

              ประมวลกฎหมายอาญาไปใชในพระราชบัญญัตินั้น ๆ ดวย ทั้งนี้ตามที่มาตรา ๑๗ ซึ่งไดบัญญัติไววา
              “บทบัญญัติในภาค ๑ แหงประมวลกฎหมายนี้ ใหใชในกรณีแหงความผิดตามกฎหมายอื่นดวย เวนแต

              กฎหมายนั้น ๆ จะไดบัญญัติไวเปนอยางอื่น”
                         สําหรับโทษหรือสภาพบังคับในทางอาญา จะตองเปนไปตามที่ระบุไวในมาตรา ๑๘ เทานั้น
              กลาวคือ ประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับและริบทรัพยสิน




              ๓.๒  การใชกฎหมายอาญา
                         เนื่องจากโทษในทางอาญามีผลกระทบตอชีวิต รางกาย เสรีภาพ และทรัพยสินของประชาชน

              ดวยเหตุนี้กฎหมายอาญาจึงตองมีลักษณะพิเศษหรือมีเอกลักษณของตนเอง แตกตางจากกฎหมาย
              อื่น ๆ เชน กฎหมายแพง เปนตน

                         มาตรา ๒ วรรคแรก บัญญัติวา “บุคคลจะรับโทษในทางอาญาก็ตอเมื่อไดกระทําการ
              อันกฎหมายที่ใชในขณะกระทํานั้นบัญญัติเปนความผิดและกําหนดโทษไว และโทษที่จะลงแกผูกระทํา

              ความผิดนั้นตองเปนโทษที่บัญญัติไวในกฎหมาย”
                         ซึ่งในหัวขอ การใชกฎหมายอาญา นั้น นักเรียนนายสิบตํารวจจะไดเรียนบทที่ ๒
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20