Page 4 - e-book สยามสแควร์
P. 4

1



                                             ความเป็นมาสยามในอดีต



                ช่วงแรกเริ่ม











                       ที่ดินบริเวณก่อนการสร้างสยามสแควร์ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ที่ดินย่านนั้นเป็นสวนผัก เป็นชุมชนแออัด
               จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ชาวบ้านก็ออกจากพื้นที่ไปและนิสิตจุฬาฯ ก็มาช่วยคุ้มกันพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามา

               เจ้าของที่ดินคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งครั้งนั้น
               ได้ด ารงต าแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนในการพัฒนาที่ดินบริเวณสยามสแควร์ ให้เป็นแหล่งค้าขาย

               เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยแต่เดิม
                       ในปี พ.ศ. 2507 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็น

               เจ้าของสถานที่ได้มอบหมายให้บริษัท เซาท์อีสท์เอเซียก่อสร้าง (ซี

               คอน เจ้าของ ซีคอนสแควร์) ท าการพัฒนาที่ดินขนาด 63 ไร่ เป็น

               ศูนย์การค้าแบบเชิงราบ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วย

               อาคารพาณิชย์ สูง 3-4 ชั้น ชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่

               อาศัยโดยมีรองศาสตราจารย์เลิศ อุรัสยนันท์ เป็นสถาปนิก                            ภาพเซ็นเตอร์ ในอดีต


                        และศาสตราจารย์รชฏ กาญจนวณิชย์ เป็นวิศวกร บริษัทก่อสร้างเสร็จปี พ.ศ. 2507 จ านวน 550 ห้อง มีโรง

               ภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีไอซ์สเก็ตติ้ง เป็นศูนย์การค้าแนวราบที่ใหญ่สุดของเมืองไทยในขณะนั้นและเพิ่มเป็น 610 ห้อง ใน

               เวลาต่อมา ซึ่งทางจุฬาฯ ให้สิทธิซีคอนเก็บผลประโยชน์จากผู้เช่าห้องแถว 10 ปี จากนั้นทางจุฬาฯ ก็เก็บผลประโยชน์ต่อเดิม

               สยามสแควร์ใช้ชื่อว่า ปทุมวันสแควร์ มี พล.อ.ประภาส จารุ

               เสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานวางศิลา

               ฤกษ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สยามสแควร์ และในขณะนั้นฝั่งตรงข้ามก าลัง

               สร้างโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล ซึ่งเดิมทีจะใช้ชื่อโรงแรมว่า

               บางกอกอินเตอร์-คอนฯ แต่แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมสยามอินเตอร์คอน
                                                                           ภาพร้านค้าต่าง ๆ บริเวณสยามสแควร์ซอย 7
               ติเนนตัลในเวลาไล่เลี่ยกัน (ปัจจุบัน ได้ถูกทุบและก่อสร้างใหม่เป็นสยามพารากอน และศูนย์การค้าที่สร้างใหม่ในบริเวณนั้น

               ก็ตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน คือ สยามเซ็นเตอร์
   1   2   3   4   5   6   7   8   9