Page 112 - โครงการ เรื่อง การบัญชีการเงิน
P. 112
101
(3) ต้องแจ้งการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรเพื่อการวิจัยและพัฒนาตาม
ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในเวลา 30
วันนับแต่วันที่ใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรนั้น “
(เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 226) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 28 กันยายน 2534เป็น
ต้นไป ไม่ใช้บังคับสำหรับเครื่องจักร และอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ได้มาก่อนวันที่พระราช
กฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ)
มาตรา 4 ตรี การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่อง
บันทึกการเก็บเงินให้หักได้ดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 4
(2) หักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อย
ละ 40ของมูลค่าตันทุนสำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไข และอัตราที่
กำหนดไว้ในมาตรา 4
ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องมีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณ
ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งประกอบกิจการค้าปลีกหรือประกอบ
กิจการอย่างอื่นซึ่งมิใช่การค้าปลีกที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึก
การเก็บเงินในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา
86/7 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
(2) ต้องเป็นเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่มีลักษณะตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ
กำหนดแต่ไม่รวมถึงส่วนระบบควบคุมกลางของเครองคอมพิวเตอร ์
ื่
(3) ต้องแจ้งการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต่ออธิบดี
กรมสรรพากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึก
การเก็บเงิน “
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 264) พ.ศ. 2536 ใช้บังคับตั้งแต่ 28
สิงหาคม2536 เป็นต้นไป สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อม