Page 6 - SchoolLibrary_Handbook_ACIT_KRU_ModifiedByNilu
P. 6

บทน ำ


                       ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน  และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา  เป็นคลังแห่งข้อมูลวิทยาการ

               และมวลประสบการณ์  ส าหรับการค้นคว้าหาความรู้ของผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  เพื่อน าไปสู่การคิดเป็น  ท าเป็น  และ
               แก้ปัญหาเป็น  ซึ่งเป็นบทบาททางการศึกษาของห้องสมุด  บทบาทของห้องสมุดที่มีต่อครู  อาจารย์  คือ

               สนับสนุน  ส่งเสริม  อ านวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน  บทบาทที่มีต่อผู้เรียนนอกจากเป็นแหล่ง
               เรียนรู้แล้ว  ยังช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  และนิสัยรักการอ่าน  บทบาทของ

               ห้องสมุด  คือ  เป็นแหล่งวิทยาการ  แหล่งข่าวสารเพื่อการพัฒนา  ช่วยให้ชุมชนก้าวทันเหตุการณ์  (ไชยา
               ภาวะบุตร,  2542 : 9 – 12)

                       ห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้  เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ  ไว้อย่าง

               เป็นระบบระเบียบ  โดยมีบรรณารักษ์และผู้ดูและเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการงานต่างๆ ของห้องสมุดการ
               จัดระบบเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวก  มีกระบวนการคัดเลือก  จัดหา  จัดหมวดหมู่  บันทึก

               จัดเก็บ  ให้บริการอย่างเป็นระบบมีแบบแผน  เพื่อให้บริการข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทาง

               คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางการสื่อสารอีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและด าเนินการให้บริการสื่อต่างๆ
               เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

                       ปัจจุบันมีการผลิตทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่างๆ  ออกมาเป็นจ านวนมากการจัดการ

               ทรัพยากรห้องสมุดอย่างมีระบบจึงเป็นสิ่งส าคัญอย่างยิ่งส าหรับห้องสมุดทุกประเภทเพราะจะอ านวยความ
               สะดวกในการจัดหา การจัดระบบให้เข้าถึงได้ง่าย และน ามาใช้อย่างคุ้มค่า

                       ประเภทของทรัพยำกรสำรสนเทศในห้องสมุด
                       1.  สื่อสิ่งพิมพ์

                       สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่ถ่ายทอดหรือบันทึกข้อมูลสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หนังสือ

               วารสาร หนังสือพิมพ์ และจุลสาร
                       2.  สื่อโสตทัศน์

                       สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อที่ถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศด้วยการใช้เครื่องมือหรือุปกรณ์เฉพาะวัสดุชนิดนั้นๆ
               ในการดูหรือฟัง ได้แก่

                       2.1 ทัศนวัสดุ เป็นสื่อประเภทดู เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ แผ่นภาพ ลูกโลก หุ่นจ าลอง เป็นต้น

                       2.2 โสตวัสดุ เป็นสื่อประเภทฟัง เช่น แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง แผ่นซีดีออดิโอ เป็นต้น
                       2.3 โสตทัศนวัสดุ เป็นสื่อประเภทดูและฟัง เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดิทัศน์แถบวีดีทัศน์ วีซีดี ดีวีดี เป็น

               ต้น

                       3.  สื่ออิเล็กทรอนิกส์
                       สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่จัดเก็บในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือดิจิตอล ไม่สามารถมองเห็นด้วย

               ตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการอ่านข้อมูล สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีหลายชนิด ได้แก่ บทเรียน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11