Page 26 - กาพย์เห่เรือ
P. 26

การใช้ส านวนโวหาร  อุปมาอุปไมย


                     ดังกล่าวมาในตอนต้น เรื่องลักษณะเด่นของนิราศเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ทั้งการใช้ส านวนโวหาร อุปมาอุปไมย และการใช้พรรณนา


                     โวหาร ซึ่งจะปรากฏให้เห็นตลอดผลงาน ของพระองค์ท่าน การใช้อุปมาอุปไมย จะพบในบทประพันธ์ที่แต่งตามขนบของการแต่ง

                     แบบนิราศ ตั้งแต่บทเห่ชมปลา บทเห่ชมไม้ บทเห่ชมนก บทเห่ครวญ และการใช้พรรณนาโวหาร จะพบในบทประพันธ์ทุกตอน


                      ๒. คุณค่าด้านสังคม


                                   ๑.  สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ าเป็นส าคัญ  เนื่องจาก

                                   ประเทศไทยมีแม่น้ าล าคลองมาก


                                   ๒.  ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหาตราทางชลมารค และประเพณีการเห่เรือ


                                   ๓.  สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ค่านิยม  และความเชื่อของคนไทย  เช่น  ค่านิยม

                                   เกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง มารยาท ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาไพเราะ


                                   ๔.  ท าให้เห็นงานฝีมือของสตรีไทยในสมัยก่อนว่ามีความประณีตในการท้างานอย่างมาก และต้อง


                                   ใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก เพื่อให้งานที่ออกมามีทั้งความสวยงามและความอ่อนช้อย เช่น การร้อยอุบะ การร้อย

                                   พวงมาลัย เป็นต้น


                                   ๕.  การเชื่อในเรื่องเวรกรรม ซึ่งเป็นความเชื่อสมัยโบราณเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม ตามความเชื่อที่ว่า

                                   “ใครท ากรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมตอบสนอง”


                                   ๖.  สะท้อนให้เห็นถึงประเพณีการแต่งกายของหญิงโบราณในสมัยอยุธยาตอนปลาย  และขนบธรรมเนียม


                                   บางอย่าง เช่น การห่มสไบคลุมไหล่ของผู้หญิงชนชั้นสูง จะห่มสไบด้วยตาด
   21   22   23   24   25   26   27