Page 46 - EBOOK-TRON_2018
P. 46

ความสำาคัญและความเป็นมา


          ผู้วิจัยต้องการนำามาลวดลายตราประทับดินเผาบ้านเชียงสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อให้งานทรงคุณค่าทางการท่องเที่ยว

          เชิงการตลาดของจังหวัดอุดรธานียิ่งขึ้น และหาสัมพันธภาพเชิงความหมาย ระหว่างรูปลักษณ์ลายเดิมบ้านเชียง

          เปรียบเทียบความสัมพันธ์กับลายมงคลสมัยนิยม  เพื่อสร้างแนวทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเลือกซื้อสินค้า
          ของฝาก ของที่ระลึก และส่งเสริมแนวทางการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ตอบรับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัด

          อุดรธานี 4 ปี ทางด้านการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของรูปแบบผลิตภัณฑ์

          ชุมชนที่มีให้เกิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น โดยคำานึงถึงเอกลักษณ์ลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียงและ

          เพิ่มมูลค่าทั้งทางวัสดุท้องถิ่นที่มีรวมถึงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น




          วัตถุประสงค์



          1. ศึกษาสัมพันธภาพลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียง เชิงความหมายเปรียบเทียบสัมพันธ์กับลวดลายมงคล
             สมัยนิยม

          2. วิเคราะห์ลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียงเพื่อประยุกต์เป็นแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

          3. สังเคราะห์ลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภท

             ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน  ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลิตภัณฑ์อาหารประเภทขนม
          4. ประเมินผลการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อทดสอบตลาดโดยกลุ่มผู้บริโภค







                                                                         จุดเด่น



                                                                          ได้องค์ความรู้รูปแบบลวดลายตราประทับดินเผาบ้านเชียง ความหมายลายที่สัมพันธ์กับลายมงคลสมัย

                                                                          ที่สามารถนำาลายมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบต่างๆ ได้ ทั้งผลิตภัณฑ์จักสาน สิ่งทอ เครื่องปั้นดินเผา
                                                                          และอาหารประเภทขนม ซึ่งสามารถสร้างอัตลักษณ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ของฝากจังหวัดอุดรธานี





                                                                         การนำาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์



                                                                         ผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง กลุ่มชุมชนเป้าหมาย 12 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มอาหารประเภทขนม 3 กลุ่ม ได้ ลวดลาย
                                                                         แม่พิมพ์ปั้มร้อนเบเกอรี่ แม่พิมพ์ขนมชั้น และเค้กวุ้น 2) กลุ่มจักสาน 3 กลุ่ม (ไผ่/คล้า/กก) ได้ลวดลายจักสาน

                                                                         แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เช่น กระเป๋า เสื่อ กระติบข้าว เบาะรองนั่ง 3) กลุ่มสิ่งทอ 3 กลุ่ม (มัดหมี่

                                                                         / หมี่ขิต) แปรรูปเป็นเครื่องแต่งกายสตรีและ บุรุษ 4) กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา 3 กลุ่ม เทคนิคปั้น แกะ เขียนสี

                                                                         เป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่ง เช่น กระถางต้นไม้ กระดิ่งลม เครื่องประดับ ผู้ใช้ประโยชน์โดยอ้อม คือ ผู้ที่สนใจ

                                                                         ในงานวิจัย ขับเคลื่อนการอนุรักษ์ละรวบรวมข้อมูลลวดลายตราประทับดินเผาบ้านเชียงก่อนข้อมูลจะสูญหาย
                                                                         และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้




























                    มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561  |  46
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51