Page 165 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 165
165
ขั้นตอนที่ 3 ผลลัพธ์ของข้อมูล (Output Data)
ผลลัพธ์ของข้อมูลนี้เรียกว่า “สารสนเทศ” (Information) เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาผ่าน
กระบวนการที่เรียกว่าประมวลผลข้อมูลแล้ว ควรจัดทําหรือหาผลลัพธ์ที่ได้รูปแบบที่เข้าใจง่าย ะดวกต่อการ
นําไปใช้งาน เช่น ในรูปแบบรายงาน ประกอบไปด้วยตาราง กราฟต่างๆ เป็นต้น
1. การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนําข้อมูลที่ต้องการมาจาก แหล่งเก็บเพื่อ
นําไปใช้งาน เช่น ต้องการทราบค่าเฉลี่ยยอดขายของสินค้าในเดือนนี้ ที่มีรหัสสินค้า225 ซึ่งอยู่ในแผนกเครื่อง
เขียน ถ้าข้อมูลเรียงโดยแยกตามแผนกและในแต่ละชนิดของสินค้า เรียงตามรหัสสินค้า การดึงข้อมูลจะ
เริ่มต้นค้นหาแฟ้มของแผนก และค้นหาข้อมูลเริ่มจากกลุ่มแรก โดยดรหัสสินค้าจนพบรหัสสินค้า A/335 ก็จะ
ดึงเอาค่าเฉลี่ยยอดขายของสินค้านําไปใช้ตามที่ ต้องการได้
2. การทํารายงาน (Reporting) หมายถึง การนําข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงาน
การวิเคราะห์ยอดขาย รายงานการทํางานของพนักงานขาย เป็นต้น
3. การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทําการคัดลอกข้อมูล จาก
ต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น บันทึกประวัติส่วนตัวพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
4. การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และ
การเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ตัวอย่าง การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ตัวอย่างข้อมูลทางธุรกิจ เช่น ชนิดของสินค้า จ านวนผู้ขาย จ านวนที่ขาย ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่
มีการเก็บ รวบรวม เช่น จ านวน 100 200 300 ถ้ากล่าวอ้างเฉยๆ เราก็จะทราบแต่เพียงว่าเป็น
ตัวเลข 100 200 300 แต่เราคงไม่เข้าใจว่าตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร และก็จะไม่มี
ประโยชน์ต่อการน าไปใช้ แต่ถ้า เราน าข้อมูลเหล่านี้มาเก็บรวบรวมโดยก าหนดว่าข้อมูล 100 200
300 หมายถึง จ านวนสินค้าที่ขายได้และ เมื่อน ามาผ่านกระบวนการ (Process) เช่น การน าข้อมูล
เหล่านี้มาค านวณยอดรวม เราก็จะได้จ านวนสินค้า ที่ขายทั้งหมด คือ 600 หน่วย เราเรียกข้อมูลที่
น ามาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนเหล่านี้ว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งการใช้สารสนเทศให้เกิด
ประโยชน์อาจมีความแตกต่างกัน เช่น การใช้สารสนเทศในระบบ ในธุรกิจส าหรับผู้บริหารระดับสูงคง
ต้องการเพียงรายงานสรุปเพื่อน าไปตัดสินใจในการวางแผนในการ ท างานต่อไป เช่น ขณะนี้เหลือ
สินค้าอยู่เท่าไร ควรที่จะผลิตเพิ่มหรือไม่ แต่ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานคงต้องการ รายงานที่มีความละเอียด
เพื่อตรวจเช็คความถูกต้องของงานที่ท าอยู่ เช่น ผู้ขายแต่ละคนขายสินค้า อะไรบ้าง จ านวนเท่าไร
เป็นต้น