Page 189 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 189

189
                  2. ข้อมูลที่ได้มา ให้คําตอบแก่บริษัทผู้วิจัยเกี่ยวกับปัญหาที่กําลังศึกษาได้หรือไม่ ช่วยให้ ได้คําตอบ

           มากน้อยเพียงใด


                  3. มีตัวแปรหรือเหตุการณ์ใดบ้างที่ต้องอธิบายให้คนฟังงานวิจัยได้รู้และเข้าใจว่ามีสาเหตุ เจิดจาก

           อะไร และมีสิ่งใดบ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์มากน้อย หรือว่ารุนแรงเพียงอด

                  4. ผลของการค้นหาหรือทดสอบออกมาแล้วนั้น เป็นอย่างไร มีตัวแปรหรือเหตุการณ์ใดที่ สัมพันธ์กัน


           อธิบายได้ด้วยเหตุผลอะไร และถ้าตัวแปรใดๆ ไม่สัมพันธ์กัน คําอธิบายของความ ไม่สัมพันธ์กัน น่าจะเกิดขึ้น
           จากเหตุผลใด และ


                  5. เมื่อทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ แล้ว ผู้วิจัยสามารถทํานายปรากฎการ ทาง

           การตลาดในอนาคตได้หรือไม่ และอะไรคือสาเหตุที่ทําให้ต้องทํานาย


                  6. จากปรากฏการณ์ที่อธิบายไปแล้ว หากจะควบคุมปรากฏการณ์ให้เป็นไปตามทิศทาง ที่ต้องการ

           แล้วควรจะทําได้หรือไม่ ถ้าทําได้จะทําอย่างไร และถ้าทําไม่ได้เพราะอะไร มีปัญหาอะไร ที่เป็นอุปสรรคให้ไม่

           สามารถทําได้


                  การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการดังกล่าว ผู้วิเคราะห์ต้องพยายามเชื่อมโยงให้ผู้อ่านหรือ ผู้ฟังรายงาน

           มองเห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางการตลาดขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
           สามารถทํานายอนาคตและชี้แนวทางในการควบคุมปรากฏการณ์ได้ โดยอาจมีข้อเสนอแนะทั้งในเชิงของการ

           ปรับ (Adaptation) ให้เข้ากับปรากฏการณ์หรือการ เปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์ (Manipulation) ให้เป็นไป

           ตามที่ผู้วิจัยหรือผู้อ่านต้องการ


                  การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ


                  1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการนําเอาวิธีการทางสถิติมาใช้วิเคราะห์ ตั้งแต่ สถิติขั้น

           พื้นฐานจนถึงหลักสถิติขั้นสูง ข้อมูลจะเป็นตัวเลข เช่น อายุ จํานวนคน ราคาสินค้า กระแสไฟฟ้า เป็นต้น


                  2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการพรรณนาหรือแปลความด้วยหลักการและ เหตุผล ข้อมูล

           จะไม่เป็นตัวเลข แต่จะเป็นข้อมูลประเภทแสดงความคิดเห็น เพศ อาชีพ ความเห็น ค่านิยม ทัศนคติ เรื่องราว
           ต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปกรรม ฯลฯ การวิเคราะห์ประเภทนี้ แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ

           เพราะอาจไม่จําเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ หรือใช้ไม่ได้เลย เพราะไม่มีปริมาณตัวเลขมาเกี่ยวข้อง
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194