Page 190 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 190

190
                  การแปลความหมายข้อมูล


                  แปลความหมาย (Interpretation) หมายถึง การอธิบายผลของการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลที่ได้จาก

           การวิเคราะห์ข้อมูลให้เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการ


                  แปลความหมายข้อมูลโดยการอ่านค่าจากตารางที่เป็น ความหมายข้อมูลที่พบประจําคือ การ
           วิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น โดยไม่อธิบายความหมายว่าค่าที่ได้นั้นหมายถึงอะไร ซึ่งผู้วิจัยควร จะนําตาราง


           แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลจากตารางนั้นไว้ใต้ตารางทันที

                  วิธีการแปลความหมายข้อมูล มี 2 วิธี


                  1. แปลความหมายตามข้อมูลที่จัดเก็บ ผู้จัดเก็บข้อมูลจะแปลและสรุปผลตามข้อมูลที่ จัดเก็บได้ ไม่มี

           การนําเอาเรื่องอื่นๆ มาประกอบการพิจารณาแปลความหมายข้อมูล :


                  2. แปลความหมายตามสถานการณ์ ผู้จัดเก็บข้อมูลจะแปลความหมายข้อมูลโดยคํานึงถึง ข้อมูล

           ปัจจุบันที่เป็นข้อเท็จจริง ดูความเป็นไปได้และโอกาสของการนําข้อมูลไปปฏิบัติได้จริง


                  การตีความหมายของข้อมูล


                  เมื่อได้จัดทําตารางข้อมูลแล้วนําไปวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว ต่อจากนั้นก็จะนําไปตีความหมาย หรือ

           แปลความหมายของข้อมูล ในปัจจุบันมีการนําเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดตาราง และค่าสถิติต่างๆ จะถูก
           พิมพ์ออกมาพร้อมกัน บางครั้งผู้วิจัยก็ประสบปัญหาในการตีความหมาย ข้อมูลเหล่านั้นให้ถูกต้อง ถ้าไม่มี

           ความรู้เพียงพอในทฤษฎีการทดสอบหรือไม่เข้าใจถึงวิธีทดสอบ ทางสถิตินั้นๆ จึงควรระวังให้มากขึ้น


                  ก่อนที่จะทําการตีความหมายของข้อมูลว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือไม่ เพื่อ สรุปความและ

           หาคําอธิบายต่อไป ควรที่จะได้มีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้


                  1. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือไม่ ซึ่ง

           สามารถตรวจสอบได้จากการใช้สถิติในการทดสอบดังที่กล่าวข้างต้น


                  2 ความสัมพันธ์เกิดจากการเก็บข้อมูลไม่สมบูรณ์หรือไม่ ถึงแม้จะทดสอบความสัมพันธ์ ทางสถิติตาม

           ข้อ 1. และพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญแล้วก็ตาม ก็ควรจะต้องพิจารณา ดอีกว่าข้อมูลเหล่านั้น
           ได้มาอย่างไร แบบของการวิจัยเป็นอย่างไร ซึ่งความสัมพันธ์ปลอมอาจเกิด ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่ง

           อาจมีสาเหตุดังนี้


                  2.1 เกิดจากความลําเอียงของผู้วิจัยหรือผู้ให้ข้อมูล เนื่องมาจากการออกแบบการวิจัย ในการเลือก

           ตัวอย่างหรือกลุ่มประชากรที่ศึกษาไม่เหมาะสม
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195