Page 119 - ดับตัวตนค้นธรรม2566
P. 119
หรือถ้าใครสามารถเติมความสุขให้กับตนเองได้ ก็สามารถเติมความสุข ลงไปได้ก่อน นึกถึงเร่ืองดี ๆ นึกถึงบุญกุศลที่เราทา แล้วน้อมเข้ามาใส่ใจ ที่เบา ๆ ท่ีโล่ง ๆ บริเวณหทยวัตถุ เติมลงมาท่ีตัวท่ีใจให้เต็ม พอเต็มท้ังตัวแล้ว จะรู้สึกอิ่มใจ รู้สึกสบายใจ รู้สึกนุ่มนวล รู้สึกอ่อนโยน รู้สึกเบิกบาน รู้สึกมี ความสุขเกิดขึ้นบริเวณหัวใจเรา แล้วก็ให้ล้นจากตัว ให้กว้างออกไป
เมื่อยกจิตขึ้นสู่ความว่างได้แล้ว เราก็มารู้อาการที่ตัว คืออาการของ ลมหายใจเข้า-ออก อาการของพองยุบ ที่อาจารย์พูดอย่างนี้หมายถึงว่าให้ ผู้ปฏิบัติแต่ละคนดูอาการของตัวเราเอง สาหรับผู้ปฏิบัติใหม่ เราก็อาศัย การสังเกตบริเวณตัวก่อนว่ามีอาการอย่างไร อย่างเช่น ขณะที่ใจว่างสบาย เวลาหายใจเข้าก็รู้สึกชัดถึงลมหายใจเข้า หายใจออกก็รู้สึกชัดถึงลมหายใจออก ก็ให้มีสติตามรู้ความเปล่ียนแปลงของลมหายใจ การที่เราตามรู้ความ เปลี่ยนแปลงของลมหายใจ เรียกว่า “ตามรู้อาการของลมหายใจเข้า-ออก” ขณะท่ีหายใจเข้า ลมหายใจเป็นเส้นเข้าไปจนสุด มีอาการหยุด แล้วก็หายใจออก เป็นเส้นหรือเป็นคลื่นออกมา ยาวไปถึงไหนก็ตามรู้ไปถึงนั่น ถ้าเลยจมูกไป ก็ตามไปให้สุดจนเขาหยุด แล้วพอหายใจเข้ามาใหม่ ก็ตามรู้อาการ เปลี่ยนแปลงแบบนี้ไป ดูว่าเขาเปลี่ยนไปอย่างไร ถ้าใครรู้สึกว่าเติมความสุขได้แล้ว ก็เอาจิตที่สุขนั่นแหละตามรู้การเปล่ียนแปลงของลมหายใจไป คาว่า
111
111