Page 48 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 48
568
บรรยากาศของความรู้สึกใสไปหมดเลย ใสรอบตัว สว่างไปทั้งหมด นี่คือดูบรรยากาศของสภาพจิต ไม่ได้ ดูแค่สภาพจิตที่อยู่ภายในตัวอย่างเดียว
เราสารวจอย่างนี้อยู่เนือง ๆ จิตที่มีปัญญาที่ได้รู้แล้วเขาจะทาหน้าที่ของเขาเอง เขาจะไม่ดูแค่เรา สงบไหม เราสุขไหม จะรู้ทันทีว่าบรรยากาศของความรู้สึกเราขณะนี้เป็นอย่างไร พอถามว่า “ขณะนี้เป็น อย่างไร ?” เขาจะรู้สึกทันทีเลยว่า “ขณะนี้เป็นอย่างไร” หมายถึงอะไร ขณะนี้เป็นอย่างไร...ดูอะไร ? ก็ต้องดู ทคี่ วามรสู้ กึ ทนั ที ดจู ติ นนั่ แหละ เพราะเรามเี ปา้ หมายเพอื่ การพฒั นาจติ ของเรา ถามวา่ ขณะนรี้ สู้ กึ อยา่ งไร ? คาว่า “รู้สึกอย่างไร” หมายถึงสภาพจิตใจเป็นอย่างไร ขณะนี้อาการทางกายเป็นอย่างไร ขณะนี้ตัวเป็น อย่างไร ที่นั่งอยู่มีรูปร่างของตัวไหม หรือว่าเขาโปร่ง ๆ ใส ๆ เบา ๆ ? นั่นคือรู้สึกได้ทันทีเลย
การทพี่ อใจทจี่ ะสงั เกตสภาพจติ อยเู่ นอื ง ๆ คอื ความเพยี ร และการทา แบบนที้ า ไดต้ ลอดเวลา ไมใ่ ช่ ว่าทาได้เฉพาะช่วงที่หลับตาอย่างเดียว ขณะยืน-เดิน-นั่ง-นอน-กิน-ดื่ม-ทา-พูด-คิดก็สามารถเจริญสติและ สังเกตสภาพจิตหรือบรรยากาศที่รองรับได้เสมอ ๆ และที่สาคัญก็คือว่า การที่เราเพียรอยู่อย่างนี้ ยิ่งเรามี ความพอใจที่จะรู้ จะให้ความรู้สึกสบาย ไม่อึดอัดไม่ขัดเคือง ไม่หงุดหงิดไม่ราคาญ... แปลกมากเลยแค่ ความรู้สึกพอใจตัวเดียวตัดปัญหาความหงุดหงิดขัดเคืองไปได้เลย แต่ถ้าเมื่อไหร่ไม่พอใจ ความอึดอัด ขัดเคืองจะเข้ามาเป็นแถว เดี๋ยวเรื่องโน้นเรื่องนี้เรื่องนั้นเข้ามามากมาย แต่ถ้าพอใจที่จะรู้ อาการไหนขึ้นมา ก็รู้ อาการไหนขึ้นมาก็รู้... กลายเป็นทาให้สงบขึ้นด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้น “ฉันทะ-ความพอใจ” เป็นธรรมะสาคัญที่จะทาให้การปฏิบัติของเราพัฒนาขึ้นไปได้ เพราะอะไร ? ทาให้จิตใจไม่ถูกบีบคั้นด้วยความอยาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความหงุดหงิด ราคาญใจ พอใจที่จะรู้ พอใจที่จะรู้... รู้อะไร ? ยิ่งเราพอใจที่จะรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ยิ่งสนุก! พอมีอารมณ์นี้ขึ้นมา ดับไปแล้ว แล้วเกิดยังไงต่อ ดับแล้ว เกิดยังไงอีก... รู้ให้ทัน พอใจที่จะรู้อาการ เกิดดับ กับพอใจที่จะรู้สภาพจิตของตัวเอง พอใจที่จะให้มีบรรยากาศรองรับอยู่เรื่อย ๆ ก็เป็นความเพียร ไปโดยปริยาย นี่แหละการที่เราปฏิบัติธรรมเพื่อความต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ของสติ ก็คือความพอใจที่จะรู้ใน ลักษณะนี้
อย่างที่บอกแล้วว่า ถ้ามีบรรยากาศรองรับเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงสมาธิเรามีอยู่เสมอ มีอารมณ์ฌาน รองรับ แค่เพิ่มเจตนาสติก็เกิดขึ้นมา สมาธิมีแล้ว เพิ่มสติเข้าไป ปัญญาก็ตามมา เพราะฉะนั้น บรรยากาศ ตรงนี้จึงเป็นสิ่งสาคัญ การเริ่มต้นด้วยการยกจิตขึ้นสู่ความว่าง คือการเริ่มต้นด้วยการสร้างบรรยากาศ อยู่แล้ว เห็นไหมว่าธรรมะเราสามารถปฏิบัติได้แบบง่าย ๆ แต่ต้องทาจริง เอาจริง ใส่ใจจริง คาว่า “เอา จริง ใส่ใจจริง” คือ “รู้ให้ชัด” ในแต่ละอย่างที่เราเข้าไปรู้ อย่างเช่น ดูบรรยากาศสภาพจิต ก็ให้รู้ชัดไปเลย ว่าบรรยากาศสภาพจิตตอนนี้เป็นอย่างไร ไม่ใช่แค่รู้ว่ามันว่าง ๆ เบา ๆ เลือน ๆ ต้องรู้ให้ชัดเลยว่าเบา แบบไหน เบาใส เบาโปร่ง เบาแบบโล่งไปหมด ตัวก็เบาไปด้วย... ไม่ใช่แค่เลื่อนลอย นั่นคือสติยังอ่อน ถ้า รู้ให้ชัดเมื่อไหร่ สติสัมปชัญญะก็จะแก่กล้าไปในตัว