Page 13 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาหัวข้อธรรม
P. 13

เส้นทางเพ่ือความพ้นทุกข์
ณ เรือนพฤกษา ๒ จ.นนทบุรี วันท่ี ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
จริง ๆ แล้วทุกครั้งท่ีเราปฏิบัติธรรมก็ต้องเน้นเรื่องการเจาะสภาวะ เพราะการเจาะสภาวะคือ เส้นทางแห่งการเดินไปข้างหน้า คาว่า “เจาะสภาวะ” หมายถึงการมุ่งที่จะเข้าไปรู้อาการเกิดดับของทุก ๆ อารมณ์ท่ีเกิดข้ึนให้มากท่ีสุดเท่าที่เราจะเห็นได้ เมื่อมีเจตนาที่จะเข้าไปรู้อาการเกิดดับแล้ว ถึงแม้เข้าไม่ถึง แต่เห็นว่าเขาเกิดดับในลักษณะอย่างไร นั่นก็คือการเจาะสภาวะ เพราะฉะน้ัน คาว่า “เจาะสภาวะ” เรามี เป้าหมายมุ่งไปรู้อาการเกิดดับของอารมณ์น้ัน ๆ เป็นท่ีตั้ง และการเจาะสภาวะท่ีดี จะต้องไม่ประกอบด้วย ความอยากหรือมีตัวตน
ที่บอกเสมอว่า ก่อนท่ีเราจะเจาะสภาวะ ให้ยกจิตข้ึนสู่ความว่างหรือทาจิตของเราให้ว่าง ว่างจาก อะไร ? ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตนแต่ต้องมีเป้าหมาย ไม่ใช่ว่างจากความอยากอย่างเดียว บางทีบอกว่า ว่างจากความอยาก...ถา้ไม่อยากกไ็มข่ยันถา้ไม่อยากกไ็มม่งุ่เพราะไมอ่ยากรู้คาว่า“ไม่อยาก”มนักวา้งไป ไม่อยากอะไรต่างหาก หรืออะไรที่ไม่ควรใช้ความอยาก แต่ถ้ามีความอยากที่จะรู้ว่าสภาวธรรมที่เกิดขึ้นน้ัน เป็นอย่างไร ความอยากรู้จะเป็นตัวเพิ่มความเพียรของเรา ทาให้เกิดปัญญา ต่อเมื่อได้รู้แล้วได้เห็นแล้ว ความอยากรู้ตรงนี้ก็จะหมดไป
ทีนี้การเจาะสภาวะ ต้องทบทวนอีกนิดหนึ่งว่า เราจะเจาะสภาวะได้ตอนไหน ? มีอารมณ์ไหนบ้าง ที่เราเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานที่จะเจาะสภาวะได้ ? จริง ๆ แล้วตามหลักคือ อาการของกาย เวทนา จิต หรือสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ก็เอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานในการเจาะสภาวะได้ พูดตรงน้ี ก็ยัง กว้างอยู่ รูป เสียง กล่ิน รส สัมผัส ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจของเรา เอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เอามา เจาะสภาวะได้ เพราะฉะน้ัน อารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมาทางตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ ก็เป็นอารมณ์ กรรมฐานได้ท้ังหมด
อย่างเช่น ท่ีพูดแบบกว้าง ๆ ก็คือว่า อาการทางกายของเรา โดยเฉพาะเวลาเรานั่งกรรมฐาน เราจะ เจาะสภาวะอะไร ? ที่เขาบอกว่ามีอารมณ์ปัจจุบัน มีอาการของลมหายใจ มีอาการของพองยุบ แล้วมีสติ
873


































































































   11   12   13   14   15