Page 86 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาหัวข้อธรรม
P. 86

946
เข้ามา ความสุขในลักษณะที่อาศัยอามิสก็เป็นความสุขที่ทาให้เรายังวนเวียนอยู่ในวัฏสงสารต่าง ๆ ต่อไป แต่การที่กาหนดรู้ถึงอาการพระไตรลักษณ์อาการเกิดดับของรูปนามที่ปรากฏขึ้นมา ความสุขที่เกิดขึ้นมา นั้นเป็นความสุขที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่เข้าไปยึดติดในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นความสุขที่เกิดจากการละ ละอะไร ? ละอวิชชา ละความหลงผิดในอารมณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นการตัดไปทุกขณะ ทุกขณะ... ตัดไปเรื่อย ๆ จนถึงที่สุด
การทกี่ า หนดรอู้ าการเกดิ ดบั ของรปู นามในลกั ษณะอยา่ งนกี้ ลบั กลายเปน็ การเดนิ ทางไปสเู่ ปา้ หมาย สูงสุดที่ผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ คือการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง คือมรรค ผล นิพพานนั่นเอง เพราะฉะนั้น เพื่อ ความต่อเนื่องในการเดินทางไปสู่เป้าหมายการดับทุกข์ของเรา จะต้องมีความพอใจ มีความเพียรในการ กาหนดอารมณ์ มีความเพียรที่จะตามกาหนดรู้ดูอาการพระไตรลักษณ์ในลักษณะอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ในทุก ๆ อิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะยืน ขณะเดิน ขณะนั่ง ขณะนอน หรือแม้แต่การทากิจกรรมประจาวัน ที่เรียกว่าอิริยาบถย่อย ให้สนใจเป็นระยะ ให้ใส่ใจกับอาการพระไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น
และการทเี่ราใสใ่จอาการเกดิดับอันนอี้ย่เูนืองๆอยบู่อ่ยๆเมื่อสตสิมาธิแก่กลา้ปัญญาคมขึ้นเห็น ถึงความเป็นจริงอันนี้บ่อย ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตก็จะ ไปรู้ก่อนว่าเกิดแล้วดับอย่างไร มีผัสสะกระทบขึ้นมา...รู้สึกดี...แล้วเขาดับอย่างไร มีผัสสะกระทบขึ้นมา... รู้สึกไม่ดี...แล้วดับอย่างไร กลายเป็นว่าปัญญาเกิดขึ้นมาคอยพิจารณาถึงการดับไปของอารมณ์ที่เกิดขึ้น พอสนใจอาการเกิดอาการดับเยอะ ๆ จิตก็จะคลายจากอุปาทานได้ง่าย แทนที่จะสนใจถึงความตั้งอยู่ ตั้ง อยู่... เดี๋ยวอย่างนั้นเดี๋ยวอย่างนี้ เป็นการตั้งอยู่ตลอดเวลา
การที่เราเห็นอารมณ์ต่าง ๆ ตั้งอยู่ตลอดเวลา ทาให้เกิดอุปาทานโดยที่ไม่รู้ตัว เข้าไปยึดเอาอารมณ์ นั้น ๆ ว่าเป็นของเที่ยง เป็นของเราเป็นของเขา โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะเรามุ่งพิจารณาแค่อารมณ์ที่เป็นบัญญัติ เปน็ ความจรงิ โดยสมมตอิ ยา่ งเดยี ว สงิ่ เหลา่ นเี้ กดิ ขนึ้ มาตงั้ แตก่ อ่ นทพี่ ระพทุ ธองคท์ รงตรสั รู้ ความเวยี นวา่ ย ตายเกิด ความเปลี่ยนไป สิ่งที่ดี/ไม่ดีที่เกิดขึ้น ความโกรธ ความดีใจ/เสียใจ ความสุข... เหล่านี้เขามีอยู่เป็น ปกติ แต่ทาไมเราถึงไม่เห็นถึงทุกข์โทษของอารมณ์ที่เข้ามากระทบ ? ถ้าเราพิจารณาถึงโทษของอารมณ์ที่ ไม่ดีที่เข้ามากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นเป็นอารมณ์ฝ่ายอกุศลอย่างหนึ่ง แล้วจิต ของเราก็รับรู้ด้วยความเป็นอกุศลหรือถูกอกุศลครอบงาอีกอย่างหนึ่ง
ความเป็นอกุศลตรงนี้คืออะไร ? ก็คือไม่มีปัญญานั่นแหละ คืออวิชชา ความไม่รู้ไม่เข้าใจถึงกฎ ไตรลกั ษณ์ ไมเ่ ขา้ ใจถงึ ธรรมชาตวิ า่ สงิ่ นยี้ อ่ มเปน็ แบบนี้ จงึ เขา้ ไปยดึ วา่ เปน็ ของเทยี่ ง เปน็ ของเราเปน็ ของเขา แต่เมื่อมีสติกาหนดรู้ ปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว เห็นว่ารูปนามขันธ์ห้าไม่ได้บอกว่าเป็นตัวเราของเราและตั้งอยู่ ในกฎของไตรลักษณ์ แล้วจะอาศัยอะไรเพื่อความอิสระจากโลกหรืออิสระจากผัสสะที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ? สาหรับเราผู้ปฏิบัติ เราต้องเอาสัจธรรมมาเป็นที่พึ่ง เพราะเราเป็นผู้แสวงหาสัจธรรม การอาศัยความจริงเป็นที่พึ่งที่ระลึก ทาให้เรายอมรับความจริงของอารมณ์ต่าง ๆ ได้ และความจริงตรงนี้ แหละจะเป็นที่พึ่งอันเกษมเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด ไม่ว่าอาการนั้นจะเป็นอย่างไร


































































































   84   85   86   87   88