Page 98 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาหัวข้อธรรม
P. 98

958
เพราะฉะนั้น ทุก ๆ สภาวะที่เกิดขึ้น การรู้กาย เวทนา จิตและธรรม จึงเปรียบเหมือนกับว่า การ กาหนดรู้ทุก ๆ อารมณ์ ที่เกิดขึ้นมาในชีวิตของเรา การกาหนดรู้ทุก ๆ อารมณ์ที่ปรากฏเกิดขึ้นมา เข้ามา กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็ล้วนเป็นสภาวธรรม ที่ผู้ปฏิบัติสามารถเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เพื่อการพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญาให้แก่กล้า ให้มีกาลังมาก ขึ้น เพื่อการพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญาของตน เพื่อที่สุด เพื่อหลุดจากวงจรแห่งวัฏสงสาร หลุดจากวงจรของ ปฏิจจสมุปบาท
อารมณ์ที่เข้ามากระทบ...ผัสสะ มีผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ เวียนไป ถ้า มีผัสสะ มีเวทนา ตัณหาไม่เกิดและดับไป เห็นความเป็นคนละส่วน ระหว่างอารมณ์ที่เข้ามากระทบ กับจิต ที่ทาหน้าที่รู้ เวทนาที่เกิดขึ้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นคนละส่วนกัน เห็นแล้ว เห็นการกระทบเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หมดไป ว่างไป จิตเปลี่ยนเป็นจิต...กลับไปสู่ความว่าง ความอิสระเกิดขึ้นมา ไม่ไหลตามอารมณ์ เหล่านั้น นั่นเป็นตัวบอกว่า การที่เราจะหยุดการคล้อยตาม ไหลตาม การเวียนว่ายตายเกิดนั้น จะเป็นไปได้ อย่างไร
เพราะฉะนั้น หลักของวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติ เอาอารมณ์ทั้ง ๔ อย่าง คืออาการทางกาย เ ว ท น า จ ติ ธ ร ร ม ม า เ ป น็ อ า ร ม ณ ก์ ร ร ม ฐ า น น นั ้ จ ะ ท า ใ ห เ้ ร า ส า ม า ร ถ เ จ ร ญิ ส ต ไิ ด อ้ ย า่ ง ต อ่ เ น อื ่ ง ใ น ท กุ ๆ อ ริ ยิ า บ ถ ไม่ว่าจะเป็นขณะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด ก็สามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา เจริญกรรมฐานได้ ตลอดเวลา ตรงนี้เป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่ง
ถ้าเราเอาอารมณ์เหล่านั้น มาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้อย่างต่อเนื่อง สติสมาธิก็จะต่อกันเป็นลูกโซ่ ไม่ขาดสาย สภาวธรรมต่าง ๆ ก็จะมีความชัดเจน และแยบคายมากยิ่งขึ้น เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น เห็นว่า อาการพระไตรลักษณ์ เห็นถึงอาการพระไตรลักษณ์ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ จิตยิ่งมีความอิสระ หรือมีความผ่องใสมากขึ้นเท่านั้น และนี่คือมหากุศลที่เกิดขึ้น ถ้าเราปฏิบัติธรรม เพียงแต่ต้องการทาจิต ของเราให้เป็นกุศล ให้เป็นบุญให้กับชีวิตของเรา เพื่อที่จะเตรียมตัวดาเนินชีวิต ในวันข้างหน้า ในปีหน้า ก็ ควรเจริญสติให้ดี ฝึกสติให้มีกาลัง สมาธิให้ตั้งมั่น ปัญญาให้เฉียบแหลม นั่นคือสิ่งที่เป็นมหากุศลกับชีวิต ของเรา
ถ้าต้องการที่จะละอกุศล ที่เคยตกค้างอยู่ภายในจิตใจ สิ่งที่ผ่านมาในชีวิตของเรา ก็สามารถเจริญ สติ สมาธิ ปัญญา นี่แหละชาระทาจิตให้ว่าง ให้คลายจากอุปาทาน ละความรู้สึกว่าเป็นเรา เข้าไปกาหนด รู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เพื่อชาระสิ่งที่ตกค้างอยู่ในจิตใจของเรา เตรียมตัวพบกับวันใหม่ พบกับวัน ใหม่ ปีใหม่ที่ดี ทาสติ สมาธิ ปัญญาให้มีกาลัง ตรงนี้เป็นพรอันประเสริฐ เป็นมหากุศลกับชีวิตของเรา
เพราะฉะนั้น การเจริญสติ สมาธิ ปัญญา ที่เรามาปฏิบัติธรรม ไม่ว่าปรารถนาให้จิตเรามีความสุข ความสงบ หรือได้บุญ หรือปรารถนาที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมาย คือมรรคผลนิพพานในเบื้องหน้า ในภาย ภาคหน้า ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง


































































































   96   97   98   99   100