Page 111 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 111

87
เจ็บปวดทางกาย อาการเมื่อย อาการชา อาการคัน เกิดขึ้นทางร่างกาย ก็ มักจะทาให้ใจเราพลอยเป็นทุกข์ไปด้วย ปวดมาก ๆ ทรมานมาก ๆ จิตก็จะ เศร้าหมองมาก ขุ่นมัวมาก เป็นเพราะอะไร ? ตรงนั้นไม่ได้ทุกข์เฉพาะทาง กายแล้ว เมื่อไหร่ที่มีความเจ็บปวดทางกายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุ ใดก็ตาม ถ้าเราไม่พิจารณาด้วยปัญญา หรือไม่มีสติ ก็จะทาให้จิตเรามีความ ทุกข์ไปด้วย เขาเรียกเป็น “ความทุกข์ทางใจ” หรือ “เวทนาทางใจ” เกิดความ อึดอัด เกิดความเร่าร้อน เกิดความหงุดหงิด เกิดความราคาญใจ
เวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อาจจะอาศัยความเย็น ความร้อน อาการ เคร่งตึง เขาเรียก “ความเปลี่ยนแปลงของธาตุสี่ที่ไม่สมดุลกัน” เพราะอะไร ? ร่างกายของคนเราประกอบด้วยธาตุสี่ แล้วก็ขันธ์ห้า ธาตุสี่คือ ดิน น้า ลม ไฟ ลักษณะความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง เมื่อไหร่ที่ธาตุในร่างกายของเรา ไม่สมดุลกัน เวทนาก็เกิดขึ้น เวทนาทางกายเกิด เวทนาทางจิตก็เกิด เวทนา ทางจิตเกิด ถ้ามีความทรมาน กระสับกระส่าย หรือขุ่นมัวเกิดขึ้นมา แสดง ว่าเวทนาทางกายเป็นปัจจัยให้เวทนาทางจิตเกิด มีความทุกข์ขึ้นมา เกิดความ ไม่สบายใจ
แต่เวทนาทางจิตไม่ใช่อาศัยแค่เฉพาะความเจ็บปวด ความเมื่อย ความชา อาการคันทางร่างกายเกิดขึ้นเท่านั้น ตัวเขาเองยังรู้สึกเจ็บ เขาเรียก “เจ็บใจ” โดยที่ไม่ต้องอาศัยร่างกาย อาศัยอารมณ์ภายนอก หมายถึงอาศัย เสียงที่ได้ยิน อาศัยภาพที่เห็น อาศัยความคิดที่เกิดขึ้น ความคิดที่เกิดขึ้นเขา เรียก “อารมณ์ภายใน” ตรงนี้เป็นความทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้น
ความทุกข์ทางใจมีลักษณะอย่างไร ? คงไม่ต้องบอกนะ ใครไม่มี ประสบการณเ์ จอความทกุ ขเ์ ลย กค็ งโชคดมี าก ๆ สว่ นใหญเ่ รากร็ กู้ นั ปรารถนา อะไรไม่ได้สิ่งนั้น ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ราคาญ ทุกข์ใจ ไม่สบายใจ พอเจอ อารมณ์ที่ไม่ถูกใจ เกิดเป็นความเศร้าหมองขุ่นมัว ได้รับสัมผัสกับอารมณ์ที่ ไม่พึงประสงค์ ไม่พึงปรารถนา ก็เกิดอาการขุ่นมัวเศร้าหมอง ตรงนั้นแหละ


































































































   109   110   111   112   113