Page 112 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 112

88
คือความทุกข์ ความทุกข์ถึงแม้จะอาศัยอารมณ์หลากหลายมากมายกี่เรื่องก็ตาม
ย่อลงมาก็เหลือแต่ “ทุกข์ทางกาย” กับ “ทุกข์ทางใจ” ทุกข์ทางกาย เรา ดูแลกันไปตามครรลอง ตามเหตุปัจจัย รักษาไป หาหมอบ้าง ดูแลสุขภาพ ร่างกายของเราให้แข็งแรงบ้าง เพิ่มการป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์ทางกาย หรือ เพื่อไม่ให้มีความทุกข์มากจนเกินไป อันนี้ทุกข์ทางกาย
ทุกข์ทางใจ จะทาอย่างไร ? ทุกข์ทางใจเกิดขึ้น เราจะดับได้อย่างไร ? จะป้องกันอย่างไร ? วิธีป้องกันก็คือ “การเจริญสติ” นั่นเอง มีสติรู้อยู่ กับปัจจุบัน รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น และเข้าใจในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าเข้าใจถึงธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ เราก็จะป้องกันความทุกข์ได้ หรือไม่ทุกข์กับอารมณ์ที่เกิดขึ้นมากมายนัก อย่างน้อยก็ยังมีเกราะป้องกันตัวเอง
เรารู้แล้วว่าทุกข์เป็นอย่างไร ทีนี้เหตุแห่งทุกข์อยู่ตรงไหน ? ส่วนใหญ่ เรารู้ว่าปัจจัยที่ทาให้เป็นทุกข์มีเยอะแยะมากมาย ที่บอกว่าเกิดจากเรื่องที่ ได้ยิน ภาพที่เห็น หรือความคิดที่เกิดขึ้น พอเข้ามากระทบ แล้วเกิดความ รู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมา ตัวที่ทาให้ทุกข์จริง ๆ ก็คือ “ความไม่รู้” ไม่เข้าใจใน ธรรมชาติของรูปนาม อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าเวทนาที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ คือทุกข์ ทางกายอย่างหนึ่ง ทุกข์ทางใจอย่างหนึ่ง กายก็เป็นรูป ใจเป็นนาม ย่อลงมา ก็เหลือแต่รูปกับนามอยู่อีกนั่นเอง
ทีนี้ความทุกข์เกิดขึ้น.. ที่ “ไม่รู้” ไม่รู้อะไร ? พระพุทธเจ้าบอกว่า สิ่ง ที่เราไม่รู้คือ ไม่รู้เรื่องของขันธ์ห้า ขันธ์ห้าคือ รูป รูปคือ รูปที่นั่งอยู่อย่างหนึ่ง รูปภายนอก รูปภายใน แล้วก็ เวทนา อย่างที่บอกแล้วว่า เจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน เกิดจากทางกาย ความรู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา นั่นทางใจ ตรงนี้จัดเป็น เวทนา สัญญา คือ ความจาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมา แล้วเราจาได้ สังขาร คือ การปรุงแต่ง.. สังขารร่างกายอย่างหนึ่ง เขาเรียก “รูปสังขาร” สังขาร


































































































   110   111   112   113   114