Page 114 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 114

90
อยู่นี้ นี่แหละ “สาเหตุแห่งทุกข์” เพราะความเห็นผิด เขาเรียก “ไม่เห็นตาม ความเป็นจริง” เพราะฉะนั้น เมื่อเรารู้ว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเพราะเราไม่รู้ เราก็ต้องทาให้รู้
“ทาให้รู้” ทาอย่างไรถึงจะรู้ ? เราจะรู้ได้ก็ต้องพิจารณา พิจารณาสิ่ง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเรานี้แหละ ให้มีสติ พิจารณาดี ๆ สังเกตให้ดี ว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นมา เราบังคับได้ไหม ควบคุมได้ไหม หรือเขาเป็นไปตามเหตุ ปัจจัยเท่านั้น ถ้าเราเห็นว่า เป็นธรรมชาติที่เขาเกิดขึ้นมา แล้วเป็นไปตามเหตุ ปัจจัย เราควรจะทาใจอย่างไร เราควรจะปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อไม่ให้ทุกข์กับ สิ่งที่เกิดขึ้น
เรารู้ว่าทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์.. ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เป็น อย่างไร ? เราต้องรู้ว่าเราทุกข์จากเรื่องอะไร ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ที่ ง่ายที่สุดคือ ดับความรู้สึกว่าเป็นเราเสีย เพราะที่ทาให้ทุกข์คือ รู้สึกว่ามีเรา ขึ้นมา พอมีเรา ก็มีความทุกข์ ฉะนั้น วิธีดับทุกข์ให้เร็วที่สุดก็คือ “ดับเรา” ดับความรู้สึกว่าเป็นเรา ให้เหลือแต่จิต เหลือแต่ “สติ” กับ “ปัญญา” ที่ทา หน้าที่รู้ รู้ถึงอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
อีกอย่างหนึ่ง เวลามีความทุกข์เกิดขึ้น เราจะรู้สึกอึดอัด รู้สึกหนัก รู้สึกไม่สบาย วิธีคือ ขยายจิตเราให้กว้างออก พอกว้างปึ๊บ สติเราจะมี กาลังขึ้น เมื่อสติเรามีกาลังขึ้น ความทุกข์นั้นก็จะค่อย ๆ ลดลง น้อยลง แล้ว ก็ดับไปในที่สุด ถ้าเรามีความชานาญ ถ้าเราปล่อยความรู้สึก หรือจิตเราให้ กว้างเลยได้เร็ว ความทุกข์ก็จะดับเร็ว นั่นคือวิธีคลายอุปาทาน เพราะฉะนั้น สาเหตุที่ทาให้เราทุกข์ ก็คืออยู่ตรงนี้ “ความมีเรา” วิธีดับก็คือ “มีสติ” แล้วก็ “ดับความเป็นเรา” ความทุกข์ก็จะดับไป
เวลาทุกข์ดับ เราต้องรู้ว่าทุกข์เรื่องนี้ดับไป ทุกข์อันนี้ดับไปแล้วรู้สึก ยังไง รู้ว่าทุกข์ดับแล้ว อันนี้ชั่วขณะหนึ่ง เป็นอารมณ์ในชีวิตประจาวันของเรา เรารู้ว่าทุกข์ดับ เวลาเราไม่สบายใจ พอทาแบบนี้ มีสติกาหนดรู้ แล้วความ


































































































   112   113   114   115   116