Page 115 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 115

91
ทุกข์มันหายไป พอความทุกข์ดับไป จิตใจรู้สึกเป็นอย่างไร ? รู้สึกสงบ รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่งขึ้นมา อันนี้ต้องรู้ รู้ว่าทุกข์ดับไปแล้ว รู้สึกดี อย่างนี้เอง เวลาไม่มีความทุกข์ รู้สึกดีอย่างนี้เอง เราจะได้น้อมความรู้สึกที่ ไม่ทุกข์เข้ามาใส่ตัว
ทาอย่างไรจิตเราถึงจะไม่ทุกข์ ? เมื่อไม่ทุกข์แล้ว ทาอย่างไรให้ความ ไม่ทุกข์ตั้งอยู่กับเรานาน ๆ หรือให้ความทุกข์เกิดช้าหน่อย ? อย่างหนึ่งที่เรา มองข้ามบ่อย ๆ ก็คือว่า เวลาไม่ทุกข์ เราจะไม่ค่อยเห็น แต่เวลาทุกข์ เราจะ เห็นชัด เวลามีความสุข เราก็จะเห็นชัด แต่เวลาไม่ทุกข์ เราไม่ค่อยเห็นสภาพ จิตที่ไม่ทุกข์ของตัวเอง เราจะมองข้าม แล้วก็พยายามที่จะหาความสุข...
วิธีหาความสุขที่ง่าย... เมื่อไหร่ที่เราเห็นว่าตอนนี้ไม่ทุกข์ ให้ “พอใจ” พอใจในความไม่ทุกข์ พอใจในจิตที่ไม่ทุกข์ ไม่ใช่ “พอแล้ว” นะ พอใจใน จิตที่ไม่ทุกข์ พอใจในความไม่ทุกข์ เดี๋ยวความสุขก็เกิดขึ้นมา แต่ถ้าเมื่อไหร่ ที่เราไม่พอใจในความไม่ทุกข์ แล้วพยายามดิ้นรนหาความสุข ตอนที่เรา ดิ้นรนนั่นแหละ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น แต่ถ้าเราพอใจในความไม่ทุกข์ ความสุข ก็เกิดขึ้น จิตที่เคยอ่อนกาลัง ก็จะมีกาลังขึ้น จิตที่เคยรู้สึกวุ่นวาย ก็จะรู้สึก สงบขึ้น เบาขึ้น นั่นวิธีเติมความสุขให้ตัวเอง
เพราะฉะนั้น ธรรมะที่พระองค์ทรงตรัสรู้ รู้ว่าทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์... ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีมรรคแปด ย่อลงมาแล้วเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงมาก็เหลือตัวสติ มี “สติ” กับ “ปัญญา” พิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณาดูสภาวธรรมความเป็นจริงของรูปนามขันธ์ ห้าอันนี้ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดบนโลกนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่าล้วนตั้งอยู่ในกฏ ของไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.. เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ ดับไป รูปนามขันธ์ห้าของเราก็เหมือนกัน ก็ตั้งอยู่ในกฏอันนี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


































































































   113   114   115   116   117