Page 12 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 12

ท่านแม่ครูอ่อนน้อมถ่อมตนและให้เกียรติพระสงฆ์มาก แม้กับพระ ที่เพิ่งบวชใหม่ในสานักฯ ก็ตาม เพราะโยคีทุกคนในสานักเคารพบูชาและ ยกย่องท่านแม่ครูว่าเป็นบุคคลที่เก่งที่สุดในความรู้สึกของพวกเขา ท่านจึง ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่งดงามด้วยการให้ความเคารพพระสงฆ์ พระ อาจารย์เคยถามท่านแม่ครูว่า ทาไมเวลาสอน โยคีไม่ฟัง หรือฟังไม่ค่อยเข้าใจ หรือไม่ค่อยใส่ใจ ท่านแม่ครูก็ว่า ถ้าโยคีเขาเก่ง ก็เป็นครูบาอาจารย์แล้ว เรามีหน้าที่สอนก็สอนไป แม้คาพูดเพียงสั้น ๆ แต่ก็ทาให้ท่านได้คิด ถึง การเสียสละความสุขตน ด้วยการสละเวลากับการให้ธรรมะแก่ผู้อื่นโดย ไม่มีข้อแม้ ของผู้เป็นครูบาอาจารย์
พระอาจารย์ระลึกเสมอว่าหากตนเองมีปัญญาอย่างท่านแม่ครูสัก ครึ่งหนึ่งก็คงดีไม่น้อย จึงเรียนท่านแม่ครูไปว่าหากได้ปัญญาของท่านสักนิด ก็ยังดี ท่านแม่ครูก็ให้พรอยู่เรื่อย ๆ และหลังจากนั้นท่านแม่ครูได้จัดหา หนังสืออภิธรรมตรี อภิธรรมโท และอภิธรรมเอกให้พระอาจารย์อ่าน ท่าน จึงมีโอกาสได้ศึกษาบัญญัติ โดยเรียนจากละเอียดมาหยาบ จากปลีกย่อย ไปหาหัวข้อ ท่านแม่ครูสอนโยงเข้ากับสภาวธรรม อาศัยการปฏิบัติเข้าถึง สภาวธรรมจึงเข้าใจง่ายขึ้น วิถีจิตเป็นอย่างไร จิตดับเป็นอย่างไร ดับแล้ว จิตดวงใหม่เกิดอย่างไร
ทาให้เข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ จิตดวงหนึ่งรับรู้ครั้งละหนึ่ง อารมณ์ รับรู้แล้วดับไป จิตดวงใหม่เกิดใหม่แล้วรับรู้ใหม่ “ธรรมในอภิธรรม เป็นธรรมอันลึกซึ้ง เป็นบรมธรรม” แต่เป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้จากการปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา) ไม่ใช่จากการคิด (จินตมยปัญญา) ว่าโดยสภาวะเป็นเรื่อง ของอภิธรรม คือธรรมอันยิ่ง เป็นปรมัตถธรรม และเป็นบรมธรรมอันสูงสุด ที่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงได้ ไม่ใช่แค่เข้าใจ ถึงแม้ไม่รู้ชื่อ เรียกไม่ถูก แต่สภาวะเป็น ตัวบ่งบอก


































































































   10   11   12   13   14