Page 11 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 11

ช่วงที่ท่านแม่ครูไปเหนือ พระอาจารย์รู้สึกว่าปฏิบัติได้ก้าวหน้า สภาวะดมี าก เมอื่ ทา่ นแมค่ รกู ลบั มาจากพะเยา พระอาจารยร์ สู้ กึ ดใี จทจี่ ะไดส้ ง่ อารมณ์ หลังจากท่านแม่ครูนิมนต์ให้พระอาจารย์นั่ง ยังไม่ทันที่พระอาจารย์ จะได้เล่าสภาวะ ท่านแม่ครูก็บอกให้ปฏิบัติต่อ “ให้ทาอย่างนี้ ๆ นะ” พระ อาจารย์ก็อยากจะเล่าสภาวะที่ปฏิบัติในช่วงที่ท่านแม่ครูไม่อยู่ ท่านแม่ครูจึง บอกว่า “ให้ของใหม่แล้วยังจะเอาของเก่าอีก” พระอาจารย์ทิ้งเรื่อง สภาวะที่เตรียมจะเล่าโดยทันที แม้จะยังคาใจในสภาวะที่ไม่ได้เล่าก็ตาม แล้ว ก็เริ่มปฏิบัติใหม่ตามที่ท่านแม่ครูสอน
ในสมัยท่านแม่ครูนั้น การส่งสภาวะจะไม่ใช้เวลามาก การเล่าจึงต้อง กระชับและตรงประเด็น ท่านแม่ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้สานวน ภาษาสภาวะได้ดี มีความสละสลวย เข้าใจได้ ตรงกับสภาวะ เช่น คาว่า “ตัวมุ่ง” “ความมั่นคง” ฯลฯ คาพูดของท่านไพเราะ ภาษาที่ใช้ฟังแล้วรู้สึกดี พระอาจารย์จึงซึมซับมาจากท่านแม่ครูผู้เป็นต้นแบบ ภาษาสภาวะที่ท่านแม่ ครูใช้พูดจะเน้นเฉพาะประเด็นสาคัญ ๆ ท่านแม่ครูบอกเพียงแค่ว่าให้ทาอะไร ทาอย่างไร พระอาจารย์ก็ทาอย่างนั้น
ภาษาสภาวะของท่านแม่ครูตรงไปตรงมา สามารถปฏิบัติตามได้ทันที พระอาจารย์คอยสังเกตจนกลายเป็นผู้ที่จับประเด็นเป็น รู้ว่าจุดสาคัญอยู่ ตรงไหน พอท่านแม่ครูถามเสร็จปุ๊บ พระอาจารย์จะเล่าทันที ทาได้ ทาไม่ได้ ทาไม่ทัน ก็ไม่มีอาการคร่าครวญแต่อย่างใด ท่านแม่ครูบอกเพียงว่า ใช่ ถูกแล้ว พระอาจารย์ก็จดจาว่าประเด็นสาคัญคืออะไร อยู่ตรงไหน แต่ใน ขณะนั้นท่านยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของสภาวะ รู้เพียงแค่ปฏิบัติอย่างไร ถึงจะก้าวหน้า ท่านทาหน้าที่ของผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด รู้เพียงอย่าง เดียวว่าทาแล้วส่งผลให้สภาพจิตดีขึ้นอย่างไร ไม่คิดหาความหมายของ สภาวธรรม


































































































   9   10   11   12   13