Page 131 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 131

107
เมื่อเราต้องการความพ้นทุกข์ จงพิจารณาดูกายดูจิตของตนให้ มาก ๆ จะได้รู้ว่าเพราะเหตุไร เราถึงทุกข์กับสิ่งนี้ เราเข้าไปเกี่ยวข้องใน ลักษณะอย่างไรถึงทุกข์ และเข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์ นี่แหละคือตัวปัญญาที่เกิดขึ้น และการที่จะเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานที่เรา ปรารถนากันนั้น เน้นการกาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปนามที่เป็นปรมัตถ์ให้ มาก ๆ รู้อาการเกิดดับของรูปนามที่เป็นปรมัตถ์ให้ต่อเนื่อง
และการปฏิบัติของเรา ถ้าเรามีความเพียรที่ต่อเนื่องอยู่เสมอ “ความ เพียรที่ต่อเนื่อง” หมายถึงว่า มีเจตนาที่จะพิจารณาถึงอาการเกิดดับของ ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น นั่นคือความเพียร เพียรที่จะเจริญสติกาหนดรู้ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขณะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็ตาม นั่นแหละคือความเพียร เพียรที่จะกาหนดรู้ถึงอาการเกิดดับ แล้วการปฏิบัติ ของเราจึงจะก้าวหน้า
แล้วอีกอย่างหนึ่ง การพิจารณาก็คือ การดู “สภาพจิต” ของเรา ขณะที่จิตเรามีความโล่ง ความโปร่ง ความเบา ก็ให้รู้เข้าไปในจิตที่โล่ง โปร่ง เบา รู้เข้าไปแต่ละขณะ เขามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ขณะที่รู้ว่าจิตโล่ง ๆ ถ้าเข้าไปดูข้างในอีก เขาเปลี่ยนไปอย่างไร รู้สึกอย่างไร นั่นคือวิธีการดู สภาพจิต ไม่ใช่แค่ดูว่า วันนี้รู้สึกเบา ๆ แล้วก็ไม่ดูต่อ คือแค่สังเกตดูสภาพ จิต ดูว่าเบา ๆ แล้วก็ปล่อยไป แล้วก็ทาอย่างอื่น แค่รู้สึกโล่ง ๆ แล้วก็ปล่อย ไป ไปทาอย่างอื่น
แต่วิธีการดูสภาพจิตจริง ๆ ก็คือว่า เมื่อไหร่ก็ตาม พอเรามาดูสภาพ จิตแล้วรู้สึกว่า เราโล่ง ๆ เบา ๆ ให้เข้าไปในความรู้สึกที่โล่งเบานั้นอีกทีหนึ่ง เข้าไปแล้วเขาเปลี่ยนยังไง รู้สึกยังไง เราก็รู้ต่อไปเรื่อย ๆ ๆ จนกว่าอาการ เกิดดับใหม่ปรากฏขึ้นมา แล้วก็ดูอาการใหม่ต่อไป นั่นคือวิธีการกาหนด สภาวะ เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติของเรา
เพราะฉะนนั้ กข็ อฝากเอาไวว้ า่ อยากใหพ้ วกเราทงั้ หลาย มคี วามเจรญิ


































































































   129   130   131   132   133