Page 129 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 129

105
มีลักษณะอย่างนั้นเอง แต่เพราะความไม่รู้หรือความไม่เข้าใจของเรา ความ เคยชินของเรา เวลามีสภาวะอะไร อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นมาก็ตาม ก็จะมีความ รู้สึกว่า “เรา” เป็นผู้ตั้งรับอยู่เสมอ ก็เลยมีผู้เสวยอารมณ์อันนั้นอยู่เป็นประจา มีรสชาติ
แต่เกิดคาถามว่า.. ถ้าเรารับรู้อย่างไม่มีตัวตนอยู่เรื่อย ๆ ชีวิตเราจะมี รสชาติไหม ? ถ้ากลัวรสชาติหายไป ก็ลองพิจารณาดูว่า จะมีรสชาติใหม่เกิด ขึ้นอีกไหม ? จะมีรสชาติแบบไหนเกิดขึ้น ? ถ้ายิ่งเห็นการเกิดดับของอารมณ์ เหล่านั้น ดับอยู่ในที่ว่าง ๆ ดับอย่างไม่มีตัวตน แล้วรู้ว่าจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้น มีรสชาติยังไง รับรองว่าจิตเราไม่จืดชืด ชีวิตเราไม่จืดชืดหรอก
เพราะยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปนามมากเท่าไหร่ จิตใจของเรา ยิ่งผ่องใสมากขึ้นเท่านั้น จิตยิ่งผ่องใส จิตยิ่งเป็นกุศลมากเท่าไหร่ ก็จะไม่ จืดชืด จิตที่จืดชืดคือ จิตที่ “อุเบกขา” อย่างเดียว เมื่อไหร่ที่เราเห็นการ เปลี่ยนแปลงของจิต จะไม่จืดชืด แต่ถ้าอยู่กับอุเบกขาอย่างเดียว ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น การที่เราพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ถ้าอยากให้อารมณ์เหล่า นั้นไม่ปรุงแต่งจิตเรา จนทาให้เราเป็นทุกข์ ก็ลองดู.. ให้อารมณ์เหล่านั้นเกิด ตรงไหนดับตรงนั้น
ตรงที่ให้เขาเกิดตรงไหนดับตรงนั้น ตรงนี้เราเจตนาที่จะกาหนดรู้ ถึงความเป็นจริง แล้วจิตจะต้องไปอยู่ที่เดียวกับอาการ ให้อยู่นอกตัว เราก็ จะเห็นชัดว่า ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้งหก ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือว่าทางใจก็ตาม เขาเกิดตรงไหนก็ดับตรงนั้น แต่ที่ไม่ดับ ง่าย ๆ เพราะความไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ที่เราดึงเอาอารมณ์เหล่านั้นเข้ามาใส่ตัว
ทุก ๆ อย่างกาลังเป็นไปตามเหตุปัจจัย สิ่งที่อยู่รอบตัวเราก็กาลัง เป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่เนืองนิจ แม้แต่รูปนามที่กาลังตั้งอยู่นี้ เขาก็กาลัง เป็นไปตามเหตุปัจจัย ร่างกายของเราที่กาลังนั่งอยู่นี่ เขากาลังเปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุปัจจัยของเขา อยู่ที่เราจะเห็นไหมว่า เขามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร


































































































   127   128   129   130   131