Page 127 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 127

103
จริง ๆ แล้วเขาเกิดขึ้นมา เขาใช้เวลานานไหม ? พอกระทบปึ๊บ เรา เกิดความไม่พอใจ ไม่พอใจในอะไร ? เพราะเราไปยึดอะไร เราจึงไม่พอใจ ? ยึดในความรู้สึกว่าเป็นเรา ว่าเป็นเขา ยึดในความรู้สึกว่าชอบ ไม่ชอบ ตรง นั้นแหละ.. ยึดในรสชาติของเวทนานั้น เอาอารมณ์เวทนามาเป็นเรา เวทนา เป็นเรา เป็นของเรา พอมีเราเกิดขึ้นมาเท่านั้นแหละ.. ตรงที่เอาเวทนามา เป็นของเรา อุปาทานก็เกิดขึ้นแล้วในตัว เพียงแต่ตัวหนังสือเขาเขียนต่างกัน มาก
ถ้าไม่มีอุปาทานเกิดขึ้น ความทุกข์จะไม่เกิด หรือเวทนาก็จะเป็นอีก อย่างหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับชอบหรือไม่ชอบแล้ว เป็นอุเบกขาเวทนา เป็นโสมนัส เวทนา คอื เขา้ ใจวา่ “เปน็ อยา่ งนนั้ แหละ” แลว้ ตวั เองกส็ งบ จติ กจ็ ะรสู้ กึ สบาย ๆ เวทนายังไงก็ต้องเกิด เพียงแต่จะเป็นทุกขเวทนา สุขเวทนา เป็นอุเบกขา เวทนา หรือโสมนัสเวทนา ที่เกิดทางจิตเรา เมื่ออารมณ์เข้ามากระทบ
เมื่อตัณหาเกิด อุปาทานเกิด.. ภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ โทมนัสสะ อุปายาสะ ความทุกข์เกิดขึ้นเร็วมาก แค่ผัสสะ ความทุกข์เราก็เกิดแล้ว แสดงว่าพอมีการกระทบ มีผัสสะขึ้นมา เวทนาเกิด ตัณหาเกิด อุปาทานเกิด จนมาครบถึงความทุกข์ “ทุกข์โทมนัส” มีความทุกข์ใจ เศร้าใจ คร่าครวญ ถ้า ถึงขนาด “อุปายาสะ” ร่าไห้พิไรราพันกับสิ่งที่เกิดขึ้น ที่ไม่เป็นอย่างที่ต้องการ แล้วก็เกิดความทุกข์นั่งร้องไห้ นั่นน่ะ.. เวทนา ตัณหา เกิดเรียบร้อย
แต่ถ้าเรากาหนดรู้ทัน เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น กระทบทางตา ก็ดับไปตรง นั้น “กระทบที่ตา” หรือว่า “แค่เราเห็นภาพ” ลองสังเกตดูทางเสียง ดูว่าถ้าเรา กาหนดรู้ ให้เสียงนั้นเกิดตรงไหน ก็ดับตรงนั้น ที่เรียกว่าอารมณ์กระทบ ทางหู เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก ให้เหลือแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ เอาความรู้สึก ว่าเป็นหูออก เอาความรู้สึกว่าเป็นตัวออก เหลือแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเสียงที่ เกดิ ขนึ้ แลว้ ลองดวู า่ เสยี งนนั้ เกดิ อยทู่ ไี่ หน เกดิ ตรงไหนดบั ตรงนนั้ หรอื เปลา่ ?
วิธีที่ให้รู้อารมณ์เหล่านั้นเกิดที่ไหนดับที่นั่น ลองส่งความรู้สึกไปที่


































































































   125   126   127   128   129