Page 128 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 128

104
จุดเกิดของอารมณ์นั้น ๆ การที่เอาความรู้สึกไปที่จุดเกิดของอารมณ์ที่ เกิดขึ้น หรือเอาความรู้สึกไปที่จุดเกิดของเสียง ไม่จาเป็นต้องให้จิตเราเล็ก กว่าเสียง อาจจะให้เท่ากับเสียง หรือกว้างกว่าเสียงก็ได้ แล้วเอาความรู้สึก ตรงนี้เข้าไปที่เสียง เสียงเกิดตรงไหนดับตรงนั้นหรือเปล่า ? หรือวิ่งเข้ามาที่ ตัวแล้วถึงดับ ? ปล่อยจิตออกไปที่เสียงทั้งหมด แล้วลองดูว่าเสียงเกิดตรง ไหนดับตรงนั้นหรือเปล่า ตรงนี้เขาเรียกว่า “เกิดดับอยู่กับที่” เกิดที่ไหนดับที่ นั่น นี่คือธรรมชาติของอารมณ์ที่เกิดขึ้น
ทุก ๆ อารมณ์ ไม่ว่าจะเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ เขาเกิด ที่ไหนดับที่นั่น แต่ที่ไม่ดับง่าย ๆ ก็คือ รสชาติของอารมณ์ ความรู้สึกดี-ไม่ดี ที่เราแบกเอาไป ความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบที่เราพาไปกับเรา พาไป..เก็บเอาไว้ตั้ง หลายวัน หลายเดือน หรือหลาย ๆ ปี ความชอบ-ไม่ชอบ ความพอใจ-ไม่ พอใจ ที่เราเก็บสั่งสมเอาไว้ แต่อารมณ์เหล่านั้นเขาดับไปแล้ว.. เสียงดับไป ตั้งนาน ภาพที่เห็นดับไปตั้งนาน แต่สิ่งที่เหลืออยู่คือ “ตัวสัญญา” ความจา ถึงรสชาติและอารมณ์ที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น เมื่อเราเจออารมณ์ที่คล้ายเดิม เขาเรียกว่า “เหตุใกล้” แล้วเรื่องเก่าก็ปรากฏขึ้นมา สัญญาเก่าปรากฏขึ้นมา ทาให้รสชาติที่เคยรับก็ ปรากฏขึ้นมาด้วย ความทุกข์ที่เคยเป็นก็ปรากฏขึ้นมา เพราะว่ามีเชื้ออยู่ แล้ว มีอารมณ์ใหม่เข้ามากระตุ้นให้เชื้อนั้นลุกขึ้นมา เขาเรียกมีเชื้อไฟ พอมัน ลุกขึ้นมา เราก็ต้องได้รับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความเร่าร้อนที่เกิดจากไฟนั่นเอง ทั้ง ๆ ที่อารมณ์นั้นดับไปนานแล้ว
แต่ถ้าเรากาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน แล้วให้อารมณ์นั้นเกิดดับอยู่ข้าง นอกในที่ว่าง ๆ เกิดตรงไหนดับตรงนั้น ลองสังเกตดูว่า อารมณ์เหล่านั้นจะ ไม่มีรสชาติ มีแต่อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามธรรมชาติ และไม่สามารถ เปลี่ยนจิตของเราให้เป็นอกุศลได้ “อารมณ์จะมีกาลังน้อยกว่าจิตเรา” ตรง นั้นแหละ เขาแสดงถึงความเป็นธรรมชาติจริง ๆ ของอารมณ์เหล่านั้น เขา


































































































   126   127   128   129   130