Page 125 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 125

101
แต่ถ้าเล่าสภาวะไปข้างหน้าแบบนี้ ก็จะรู้ว่าต้องเพิ่มตรงไหน ต้องแก้ ตรงไหน และสภาวะตรงนี้ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ไม่ดี ถึงแม้เขาจะกลับมาเหมือน เดิม ให้รู้ว่ากลับมาผุดขึ้นมากระจายเหมือนเดิม ต้องดูสติเราขณะนั้น บัลลังก์ใหม่ที่เรานั่งนี่ สมาธิเรายังเหมือนเดิม สภาพจิตเราเหมือนเดิม หรือ ต่างจากเดิม ถ้ากาลังเราเท่าเดิม เขาเริ่มจากตรงนี้ เป็นสิ่งที่ดีแล้ว เราก็ทา เหมือนเดิม ด้วยการมุ่งเข้าไปให้เร็วกว่าเดิม แทนที่จะนิ่งอยู่เฉย ๆ พอเขา เกิดขึ้นมาก็เพิ่มตัวมุ่ง หรือมุ่งเข้าไปที่อาการนั้นต่อทันที สภาวะเขาก็จะเดิน หน้าไปอีก อันนี้วิธีกาหนดสภาวะ และวิธีการเล่าสภาวะอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณาสภาวธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของเรา อาจารย์บอกเสมอว่า เวลาเราพิจารณาสภาวธรรม สิ่งที่เราต้องอาศัยต้องรู้ มีอยู่สองอย่าง คือความจริงที่เราต้องรู้ มีอยู่สองอย่าง.. ความจริงโดย สมมติ หรือที่เรียกว่า “สมมติสัจจะ” กับความจริงโดยปรมัตถ์ จิตเราจะ อาศัยความจริงข้อไหนเพื่อให้เราไม่ทุกข์ ความจริงข้อไหนที่กาลังเป็นไป เรา โยงธรรมะเข้ากับชีวิตของเราได้อย่างไร ?
จริง ๆ แล้ว อาจารย์รู้สึกว่า บางครั้งไม่จาเป็นต้องโยงหรอก แต่อย่าง ที่บอกเมื่อกี้ว่า ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็คือ สภาวธรรมสภาวะหนึ่งเท่านั้นเอง ที่ปรากฏขึ้นมา ด้วยอาศัยเหตุปัจจัย ไม่มี เราไม่มีเขา แต่ด้วยสมมติแล้ว มีเรามีเขาขึ้นมา นั่นคือความจริงโดยสมมติ แต่ถ้าเป็นความจริงโดยจริงแท้หรือเป็นสัจธรรมจริง ๆ “ไม่มีอะไรเป็นเรา” แม้แต่รูปนามที่กาลังนั่งอยู่นี้ ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นเรา แม้แต่จิตที่กาลังรับรู้ อยู่นี่ ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นเรา
เมื่อสองอย่างนี้.. รูปนามไม่ได้บอกว่าเป็นเราเป็นเขาหรือเป็นใคร เมื่อเห็นอย่างนั้นสภาพจิตรู้สึกยังไง ? เราก็จะเห็นถึงความเป็นอิสระ แล้วก็ เข้าใจถึงความเป็นไปของอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ถ้าเราพิจารณา ในลักษณะอย่างนี้ด้วยความไม่มีเรา แล้วพร้อมที่จะเข้าใจในสภาวธรรมที่


































































































   123   124   125   126   127