Page 123 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 123

99
ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในตัว เพียงแต่ว่าเราจะไปเห็นลักษณะ ของความเป็นอนิจจัง เห็นลักษณะของความเป็นทุกขัง หรือลักษณะของ ความเป็นอนัตตา “ชัด” กว่ากัน
บางครั้งเราเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดกว่าลักษณะของการดับ เราก็ เห็นลักษณะของความเป็นอนิจจัง แต่ไม่เห็นทุกขลักษณะ คือลักษณะที่ ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ที่ดับเด็ดขาดชัดเจน แต่บางครั้งเราก็จะเห็นได้ว่า มีแล้วดับ เห็นแต่อาการเขาดับไป ดับไป นั่นลักษณะที่เขาตั้งอยู่ในสภาพเดิม ไม่ได้ เขาต้องดับ ตรงนั้นเขาเรียกว่า “ทุกขลักษณะ” เป็นลักษณะบอกให้รู้ว่า เขาตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องดับไป แล้วลักษณะของความเป็นอนัตตา ที่บอกว่าไม่ใช่เรา ไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง มีแต่สติ มีแต่ความรู้สึก หรือจิต ที่ทาหน้าที่รู้กับอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น อันนี้เรียกว่า “อนัตตา” อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งก็คือ สภาวะความเป็นอนิจจัง “อนิจจลักษณะ” ทุกขัง หรือ “ทุกขลักษณะ” ที่ปรากฏข้ึนมานั่นแหละ เราไปเปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ เขาเป็นอย่างนั้น แค่เราเข้าไปรู้ ทีนี้เมื่อเราไปรู้แต่ละขณะ แต่ละขณะ เขาก็ จะมีความแตกต่างกันไป ตรงที่เราเห็นความแตกต่าง ทั้งลักษณะการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไป ของรูปนามนี่แหละที่เรียกว่า “ปัญญาญาณ”
จริง ๆ “ญาณ” กับ “ปัญญา” ก็คือตัวเดียวกันนั่นแหละ เป็นการ รู้ตามความเป็นจริงของรูปนามว่า เป็นอย่างนี้นี่เอง เป็นสัจธรรมที่ปรากฏ ขึ้นมา ที่เราเห็นจริง ๆ ไม่ได้เกิดจากการนึกคิดปรุงแต่งเอา อันนี้ก็เป็นสภาวะ ปรมัตถ์ที่เรานักปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อเจาะสภาวะ ให้สังเกตรู้อาการเหล่านี้ พิจารณาในลักษณะอย่างนี้
และอีกอย่างหนึ่งที่เราพิจารณาสภาวธรรม คือให้เป็นไปข้างหน้า หรือ เดินหน้าต่อ ๆ ไป ความแตกต่างของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เราต้องบอกได้ว่า บัลลังก์แรกอาการเกิดดับเขาเกิดแบบนี้ ยกตัวอย่างว่า บัลลังก์แรก ขณะที่เรา กาหนดอาการของลมหายใจ พอดูไปสักพัก ลมหายใจหายไป แล้วมีอาการ


































































































   121   122   123   124   125