Page 122 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 122

98
ชอบ รู้ด้วยความพอใจ-ไม่พอใจ หรือด้วยจิตที่นิ่ง ๆ จิตที่เป็นกลาง ไม่มี อกุศลเข้าไปเกี่ยวข้อง แล้วจิตที่นิ่ง ๆ ที่เป็นกลาง ที่ไม่มีอกุศล เป็นจิตที่ใส เป็นจิตที่สงบ เป็นจิตที่ตื่นตัว หรือว่าเป็นจิตที่ขุ่นมัว ถ้าเห็นว่าเป็นปรมัตถ์ เมื่อไหร่ เราจะเห็นว่าเป็นสัจธรรมจริง ๆ ที่มีแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้กับอาการที่ เกิดขึ้น และมีการเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุก ๆ ขณะ
ทาไมถึงเรียกว่าเป็น “สัจธรรม” ? เพราะไม่มีการปรุงแต่งเกิดขึ้น เราเห็นความเป็นไปของรูปนามตามความเป็นจริง มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับ ไป ขณะที่เราเห็นรูปนามดับไปแต่ละครั้ง ดับไปแต่ละขณะ สภาพจิตหรือ จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น ให้ความรู้สึกเป็นอย่างไร ? ต่างจากเดิมอย่างไร ? ยิ่งเห็นอาการเกิดดับมากขึ้น จิตยิ่งใสขึ้น ยิ่งสะอาดขึ้น ยิ่งบริสุทธิ์มากขึ้น เรื่อย ๆ หรือว่ายิ่งหดหู่ หรือว่าเฉย ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ? นี่คือการ พิจารณาสภาวะที่เกิดขึ้น
การพิจารณาสภาวะที่เกิดขึ้น หมายถึง เรารู้ถึงการกระทาของเราว่า เมื่อเรากาหนดรู้อาการต่าง ๆ ในลักษณะอย่างนี้แล้ว ทาให้สภาพจิตโดย รวมเปลี่ยนไปอย่างไร ตรงนี้ที่ใช้คาว่า “เรา.. เรา..” เป็นนามบัญญัติ เป็น สมมติบัญญัติ เพื่อให้เป็นประธาน ที่เราจะได้รู้ว่าพูดถึงเรื่องอะไร แต่ว่าโดย สัจธรรม ว่าโดยสภาวะจริง ๆ ไม่มีเรา ไม่มีเขา สังเกตดูสิ จิตที่ทาหน้าที่รู้ ก็ว่างเปล่า ไม่ได้บอกว่าเป็นเรา สภาวธรรมที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร เพราะฉะนั้น นั่นคือลักษณะของความเป็นอนัตตา
แต่ลักษณะของความเป็นอนัตตาของอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เราก็ เห็นถึงความเป็นอนิจจังในตัว คือความไม่เที่ยง แล้วเขาก็เปลี่ยนแปลงอยู่ เสมอ แล้วก็เห็นความเป็นทุกขลักษณะ คือลักษณะของความทุกข์ของ อารมณ์เหล่านั้น ที่บอกว่าเกิดขึ้นแล้วดับไป ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิด ขึ้นมาแล้วต้องดับ เพราะฉะนั้น คาว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ก็คือสภาวะ ที่อาศัยอารมณ์เดียวกัน ในอารมณ์เดียวกันนั่นแหละ ในคาคาเดียวก็แสดง


































































































   120   121   122   123   124