Page 140 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 140

116
ไป.. เพราะอะไร ?
เมื่อเรามีเป้าหมายชัดเจน มีความตั้งมั่นที่ชัดเจน เราก็จะหาเวลาใน
การกาหนดอารมณ์ได้เอง บางครั้งตอนเดินออกกาลังกาย พอนึกขึ้นมาได้ เดี๋ยวเราเจริญสติด้วยดีกว่า สังเกตอาการเกิดดับในขณะเดิน.. เดิน.. เดิน.. เดิน.. เดิน.. พอนั่งพักเหนื่อย เดี๋ยวก็ดูว่าที่รูปมีอาการอะไรขึ้นมา มีอาการ เกิดดับไหม ? ในความว่างข้างหน้า มีอาการเกิดดับ มีอะไรปรากฏขึ้นมาหรือ เปล่า ? นั่งนิ่ง ๆ หลับตา ๕ นาที ๑๐ นาที นั่นคือ มีเวลาในการปฏิบัติอยู่ เสมอ
สิ่งสาคัญที่สุดที่เรากาหนดรู้ พิจารณารู้ถึงอาการของต้นจิต อิริยาบถ ย่อย ดูสภาพจิตของเราอยู่เนือง ๆ เราบอกตัวเอง กาหนดไว้ในใจว่า เราจะ พิจารณาดูสภาพจิตเราบ่อย ๆ เนือง ๆ ทั้งในอิริยาบถหลักและอิริยาบถย่อย ไม่ว่าจะทาอะไรก็ตาม สภาพจิตเป็นยังไง สภาพจิตเป็นอย่างไรเราก็จะเห็น นั่นคือการปฏิบัติต่อเนื่องกัน
นอกจากอาการพระไตรลักษณ์ อาการเกิดดับที่เป็นปรมัตถ์ ก็คือ อาการที่เป็นบัญญัติที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น การได้ยินเสียง การเห็นรูป ความ คิดที่เป็นเรื่องราว ตรงนั้นเป็น”บัญญัติ” บัญญัติ คือ ความเป็นกลุ่มก้อนหรือ เรื่องราว ภาพที่เห็น เป็นคน เป็นต้นไม้ เป็นอาคารบ้านเรือน เป็นรถต่าง ๆ ตรงนั้นจะเป็นบัญญัติ เสียงที่ได้ยิน ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องราวต่าง ๆ ก็จะเป็น บัญญัติ ความคิดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องราว ก็เป็นบัญญัติ ถึงแม้ว่าโดยสภาวะ เขาเป็นปรมัตถ์ แต่ถ้าเราเห็นเป็นเรื่องราว ก็จะเป็นบัญญัติ หรือความเป็น กลุ่มก้อน
ความเป็นกลุ่มก้อน หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าไม่ดีทั้งหมด ต้อง แยกส่วนนะ เรื่องราวเหล่านี้ต้องมีการรับรู้ควบคู่กันไป รู้ว่ารถเป็นรถ รู้ว่า ต้นไม้เป็นต้นไม้ ไม่ใช่เห็นรถเป็นม้า เขาเรียก “ความจริงโดยสมมติ” เรานา มาพิจารณา พิจารณาตรงไหน ? เพื่ออะไร ? จาเป็นต้องพิจารณาทุกเรื่องที่


































































































   138   139   140   141   142