Page 142 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 142

118
เพราะกาลังสมาธิ เมื่อสติเรามีกาลังมากขึ้น สมาธิเรานิ่งขึ้น อาการเกิดดับก็ จะเปลี่ยนไป ต่างจากเดิม
แต่บางครั้งเปลี่ยนเพราะมีอารมณ์แทรก เช่นมีอารมณ์จรผ่านเข้า มาแล้วเขาเปลี่ยนไปเป็นเรื่องอื่น เป็นอย่างอื่น สภาพจิตเป็นอยู่ดี ๆ พอ มีอารมณ์จรแทรกเข้ามา มีความคิดแวบเข้ามา กลายเป็นขุ่นมัว หรือว่ามี อารมณ์เข้ามากระทบปุ๊บ จากใส ๆ กลายเป็นขุ่นมัว อันนั้นคือสาเหตุใหม่ ปัจจัยที่เข้ามาแทรกเป็นอย่างไร ทีนี้พออารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้น มีอารมณ์เข้า มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทาให้เราเกิดความขุ่นมัว จิตเราขุ่น มัวสลัว หรือมีอกุศลเกิดขึ้น เราดับอย่างไร ? อันนี้สาคัญนะ เรามีเจตนาที่ จะดับอารมณ์เหล่านั้นหรือไม่ ? หรือปล่อยไปตามกาลัง ให้อารมณ์นั้นเป็น ผู้นาการกระทาของเรา ?
แต่จุดสาคัญคือ นักปฏิบัติต้องดับอารมณ์เหล่านั้นเสมอ ดับที่ตัวเอง ก่อน ตรงนี้เขาเรียก “มีสติ” ไม่ว่าจะเป็นนักปฏิบัติหรือบุคคลทั่วไป เมื่อมี อารมณ์กระทบเข้ามา แล้วเกิดความรู้สึกไม่ดี ก็ต้องทาใจ รู้จักข่มใจ รู้จักแก้ ปัญหาที่ใจเราก่อน “ดับรสชาติ” ที่เกิดขึ้นมากับใจเรา ดับความไม่สบายใจ.. เราดับมันไปแล้ว จิตเราเป็นยังไง ? ก็กลายเป็น “ความสงบ”
เมื่อมีความสงบ ที่บอกว่าพิจารณาให้รอบ สังเกตดูว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ เราไม่มีตัวตน แล้วยกจิตขึ้นมา เอาเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งในที่ว่าง แล้วก็พิจารณา รอบ ๆ ด้าน ดีหรือไม่ดีอย่างไร ? ควรทาอย่างไร ? หรือควรปล่อยเขา ไป ? ตรงนี้เราต้องพิจารณา จะทาให้เรามีปัญญา รู้ว่าสิ่งที่เราทา หรือธรรมะ ที่เราปฏิบัตินั้น ให้ผลดีกับเราอย่างไร ? นอกจากการตัดภพชาติ เราไป ใช้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง ? อันนี้มันกว้างมาก ๆ เลย ถ้าเราพร้อมที่จะเข้าใจ ธรรมชาติ เข้าใจทุก ๆ อย่าง ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นมารอบ ๆ ตัวเรา ทุก อย่างอยู่ในกฏของเขา
แล้วอีกอย่างหนึ่ง “ความอยาก” ของเรา อยากแล้วเป็นทุกข์ เขายัง


































































































   140   141   142   143   144