Page 149 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 149

125
เลยก็ได้นะ อาจารย์พูดไว้ก่อน จริง ๆ แล้วปฏิบัติดีขึ้นเยอะ เพียงแต่ว่า เมื่อตั้งใจปฏิบัติแล้ว อย่ารอช้า รู้สึกว่าเวลาของเรามันไม่รอใคร ต้องตั้งใจ เราบอกตัวเองได้ว่า เราทาเพื่อประโยชน์อะไร เราได้ประโยชน์อะไร ตรงนี้ ทาไปเลย เรามุ่ง.. มุ่ง.. ไม่สนใจอย่างอื่น มุ่งแต่ธรรมะ แล้วเราก็จะคลุกคลี อยู่กับธรรมะ พิจารณาไปด้วย
บางครั้งโยคีเล่าสภาวะ คิดว่าอาจารย์รู้หมดแล้วแหละ แล้วไม่เล่า อันนี้ไม่ดี อย่าคิดว่าอาจารย์รู้นะ สภาวะที่เราเห็น อย่าคิดว่าอาจารย์เห็น ด้วยนะ ตอนที่เราปฏิบัตินั่งสมาธิ เห็นแต่ของเราเองนะ ถ้าไม่เล่า อาจารย์ จะรู้ได้ยังไง ? ที่อาจารย์รู้ก็คือว่า ที่เล่ามา ที่เราเห็นมานี่ มันอยู่ตรงไหน ไป ถึงไหนแล้ว อาจารย์จะได้บอกต่อว่า ต่อไปจะไปยังไงต่อ อย่างที่เล่ารวม ๆ แล้วให้อาจารย์คิดเอาเอง อาจารย์ไม่คิด
อาจารย์นึกถึงสมัยก่อน พระพุทธเจ้าบอกว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอ คิดว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร เธอสาคัญความข้อนี้เป็นไฉน...” ภิกษุก็เล่าว่า สาคัญว่า เป็นอย่างงี้อย่างงี้... พระพุทธเจ้าบอก เธอคิดว่าเรื่องนี้ เป็นอย่างงี้ อย่างงี้... คือทวนคาของภิกษุที่พูดอีก อ่านแล้ว โอ้โห! เรื่องเดียวนี่ตั้งหลาย รอบ ในพระไตรปิฎกฉบับหนา ๆ เขาย่อให้สั้นลง เมื่อก่อนนี่ทวนหลายรอบ ประโยคเดียวเรื่องเดียวต้องพูด คิดว่ายังไง ไม่ดียังไง คิดเรื่องนี้แบบนี้ อัน นั้นคือ “ความคิด” อันนี้คือ “ความเข้าใจ”
เวลาเราเล่าสภาวะ.. พอเห็นปุ๊บ รู้สึกแบบนี้ เข้าใจว่าอย่างนี้ถูกไหม ? ถามได้ ถ้าดีแล้วก็ดีแล้ว ถ้าความคิดที่ดีแล้ว อาจารย์ก็ว่าดีแล้ว ส่วนใหญ่ อาจารย์จะดีใจที่โยคีปฏิบัติแล้วก็คิดดี ๆ เข้าใจแล้ว เขาถาม อาจารย์ก็ว่าคิด ดีแล้ว ถูกแล้ว ทาเหอะ ทาต่อไป อันนี้ดี... ให้อาจารย์มานั่งอธิบายตั้งนาน ก็นั่งเฉย รู้แล้ว ก็เสียเวลา... อันไหนรู้แล้วเราก็รู้ อันไหนดีแล้วก็ดีไป ก็ทา ต่อไป ไม่ต้องมาพูดเยอะ อันนี้จะดีเยอะ แล้วการปฏิบัติก็จะก้าวหน้า
อีกอย่างหนึ่ง การปฏิบัติของเรา สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ผลที่เราได้รับ


































































































   147   148   149   150   151