Page 153 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 153

129
จะทา นอกนั้นเราสามารถปฏิบัติได้ ข้อเว้นที่ไม่ควรจะทาสาหรับฆราวาส ก็ อย่างที่เราประกาศไปเมื่อกี้นี้ เราสมาทานเมื่อกี้... การไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน “สัพพปาปัสสะ อกรณัง การไม่ทาบาปทั้งปวง” ไม่เบียดเบียนทางกาย เขา เรียก “รักษาศีล” คือศีลห้านั่นแหละ กรอบของการไม่ปฏิบัติ ไม่ทา
เรารักษาศีลห้า ก็คือไม่ทา ที่บอกว่า “ข้องดเว้น” เว้นจากการฆ่า เว้นจากการเอาสิ่งของของผู้อื่นที่ไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดครรลอง คลองธรรม นั่นคือสิ่งที่ไม่ให้ทา เว้นจากการมุสา โกหก พูดเท็จ พูดส่อ เสียด พูดคาหยาบ พูดเพ้อเจ้อ สิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าบอกไม่ควรทา ไม่ดื่ม สุรา ของมึนเมาทั้งหลายทั้งปวง ที่บั่นทอนสติปัญญาและร่างกายของตนเอง พระพุทธเจ้าก็ห้าม ไม่ควรทา
ศีลห้าข้อนี้ห้ามเพื่อประโยชน์ของใคร ? ผู้ที่ต้องการที่จะละอบาย ต่าง ๆ ละความทุกข์ หรือหลีกเร้นจากความทุกข์ การไม่ทาสิ่งที่พระพุทธเจ้า ห้าม หรืองดเว้นจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าห้าม การไม่ทาบาปทั้งปวง เพื่ออะไร ? ประโยชน์มีหลายอย่าง.. ประโยชน์ในปัจจุบัน การไม่เบียดเบียนสัตว์ สภาพ จิตใจเราเป็นอย่างไร ? อนูปวาโท อนูปฆาโต การไม่พูดร้าย การไม่ว่าร้าย การไม่ทาร้ายไม่เบียดเบียน นั่นแหละคือสิ่งที่ควรจะทา
เมื่อเราไม่เบียดเบียนแล้ว สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร ? เราไม่คิด เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ด้วยกาย ด้วยวาจา... “คาพูด” ต่าง ๆ ที่เรา ให้ออกมานั้น ควรจะเป็นคาพูดแบบไหน ? ที่บอกว่า ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด คาหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คาไพเราะอ่อนหวาน เขาเรียก “ปิสุณาวาจา” ตรงนั้นแหละ นี่คือการงดเว้น การไม่ทาบาปทั้งปวง
“ความคิด” คิดอย่างไรถึงไม่เป็นบาป ? คิดอย่างไรถึงไม่เป็น อกุศล ? คิดอย่างไรถึงไม่ก่อให้เกิดทุกข์ ? คิดอย่างไรจิตของเราถึงไม่เศร้า หมอง ? นั่นคือวิธีคิด เขาเรียก “การไม่ทาบาปทั้งปวง” ย่อลงมาก็คือ ไม่ ทาบาปทางกาย ทางวาจา และทางใจ เหลือนิดเดียว เหลือน้อยลงแล้ว


































































































   151   152   153   154   155