Page 154 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 154

130
เพราะฉะนั้น การควบคุม การดูแล ก็จะง่ายขึ้น เพราะเราไม่ต้องไปดูแลเรื่อง อะไรหรอก ดูแลเรื่องกาย วาจา และใจ ของเรา
ถ้าเราดูแลใจเราได้ กายของเราก็พลอยสงบไปด้วย ใจเป็นอย่างไร การกระทา คาพูด ก็จะเป็นไปตามที่ใจเราสั่ง ตามที่ใจเราเป็น เพราะโดย ธรรมชาติของคนเรา ทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้นและเป็นไป เป็นไปตามใจ เขา เรียก “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” เพียงแต่การกระทาที่เป็นไปนั้น ประกอบ ด้วยสติ ด้วยปัญญา หรือไม่ ? หรืออาศัยความเคยชิน ? มีอะไรเกิดขึ้นมา ก็ทาตามความเคยชิน ? หรือเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นมา แล้วมีสติพิจารณา รู้เท่า ทันอารมณ์ เข้าใจในอารมณ์ รู้ถึงเจตนาที่จะทาไป ว่าสิ่งที่เราจะทาจะพูดไป นั้น เป็นอย่างไร ? เพื่ออะไร ? มีเหตุผลให้ตัวเอง ให้ผู้อื่น.. เป็นไปเพื่อ ความทุกข์ ? เป็นไปเพื่อมักน้อย ? เป็นไปเพื่อดับทุกข์ ? หรือไม่หวังผลอะไร เลย ? พูดไปอย่างนั้นแหละ.. นี่คือ การไม่ทาบาปทั้งปวง
เพราะฉะนั้น ธรรมะของพระพุทธเจ้า แนวทางของการปฏิบัติตน เป็นไปเพื่ออะไร ? เป็นไปเพื่อ “ความไม่มีภัย” ไม่มีภัยในที่นี้ แม้ปัจจุบัน เรา สังเกตดูได้ ใครก็ตามที่มีคาพูดดี กิริยาอาการที่ดีที่งดงาม ความคิดที่ดี ๆ คน นั้นจะปลอดภัย จะดูดี ใครเห็นก็ชื่นชม ใครเห็นก็เมตตา และปลอดภัยอีก อย่างหนึ่งก็คือว่า แม้ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ปลอดภัยจากอบาย ไม่ต้องไปสู่ทุคติ ภูมิทุคติภพ ไปอยู่ที่สุคติภพสุคติภูมิ ภูมิที่เป็นภูมิของเทวดา หรือไม่ก็เป็น ภูมิของมนุษย์ หรือเทวดา หรือพรหมที่สูงยิ่งขึ้นไป นั่นน่ะ.. การไม่ทาบาป ทั้งปวง ที่เราบอกว่าการไม่ทาบาปทางกาย ทางวาจา ทางใจ
แค่ไม่ทาบาป ยังดีขนาดนี้.. แล้ว “การทากุศลให้ถึงพร้อม” อยู่ ตรง ไหน ? ก็ไม่ต่างอะไรกับการทาบาปนั่นแหละ ก็คือทากุศลทางกาย ทางวาจา และทางใจ หรือการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา ความมีเมตตา ให้อภัย นั่นคือการขวนขวายในธรรม ทาความดี นั่นคือทากุศลทั้งหลายทั้ง ปวง แต่ที่เห็นชัด ๆ การทากุศลให้ถึงพร้อมคือ การให้ทาน รักษาศีล เจริญ


































































































   152   153   154   155   156