Page 156 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 156

132
ทีนี้ จะหมดจดตรงนั้นได้จริง ๆ เมื่อไหร่ เราไม่รู้ แต่สิ่งที่รู้อยู่ปัจจุบัน นั่นคือ เรารู้ถึงเจตนาของเราว่า ในสิ่งที่เราทาไปนั้น เราดูสภาพจิตของเราใน ปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร อยู่อย่างสงบ อยู่อย่างไม่มีเวร อยู่อย่างไม่มีภัย อยู่ ด้วยใจที่ว่าง ที่สว่าง ที่เบา ที่โปร่ง ใจที่ไม่ทุกข์ วิธีพิจารณาอีกอย่างหนึ่งก็ คือว่า การที่เราจะเห็นว่าจิตเราผ่องใสอย่างไร ขาวรอบได้อย่างไร ตรงหนึ่งก็ คือ หมดจดจากกิเลสแม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ หรือว่างจากกิเลสแม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ เรียกว่า “ตทังคะ”
ถ้าเป็นหลุดพ้นชั่วขณะหนึ่ง ๆ เขาเรียก “ตทังควิมุตติ” “หลุดพ้น” จากอะไร ? ไม่ใช่หลุดพ้นจากโลก “หลุดพ้นจากวัฏสงสาร กระแสของอารมณ์ สังคมที่เกิดขึ้น” อารมณ์ที่มากระทบทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา พอ กระทบแล้ว ถ้าใจเราไม่คล้อยตาม ไม่ไหลตามอารมณ์อันนั้น ไม่เสวยอารมณ์ เหล่านั้นให้มีรสชาติ มีความทุกข์ มีความขุ่นมัวเศร้าหมองเกิดขึ้น ความรู้สึก กับอารมณ์ที่มากระทบแยกส่วนกัน เราเป็นผู้รู้ เป็นเพียงผู้ดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้วจิตเราไม่คล้อยตาม จิตจะมีความสงบมั่นคง หรือผ่องใสอยู่ ตรงนั้นแหละเขาเรียกว่า “ไม่ไหลตามอารมณ์” หรือ “ไม่หมุน ตามวัฏจักร” หรือ “ไม่หมุนตามโลก”
เพราะกระแสโลกของเรา ในกามภพนี้ อาศัยวัตถุกาม อาศัยอารมณ์ที่ เป็นความน่ายินดีหลงใหลพาไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขา เรียก “กามคุณอารมณ์” อารมณ์ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กามคุณ อารมณ์ คืออะไร ? รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่เกิดขึ้น เสียง ที่เราได้ยิน อันไหนที่ทาให้ใจเราคล้อยตาม ขุ่นมัว เศร้าหมอง ผ่องใส อาศัย ความยินดีความพอใจในอารมณ์อันนั้น แล้วก็ปรุงแต่งต่อ สร้างภพชาติ ต่อไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพิจารณา มีสติกาหนดรู้ รู้เท่าทันอารมณ์ เหล่านั้น และไม่คล้อยตาม ไม่ไหลตาม เราจะเห็นว่าจิตเราจะรู้สึกอิสระ
การที่เรายกจิตขึ้นสู่ความว่าง หรือทาจิตให้ว่าง เห็นว่า “จิตที่ว่าง”


































































































   154   155   156   157   158