Page 158 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 158

134
ไม่เกิดอีกเลย อันนั้นก็ต้องรอโน่น... เราก็ต้องพัฒนาตนเองไป จนไม่ต้อง เกิดอีก แล้วเราไม่ต้องมาเจอกับความทุกข์อีก
ความทุกข์ที่ปรากฏขึ้นมาให้เราได้รับรู้ ก็มีอยู่สองส่วน.. “ทุกข์ที่เป็น ธรรมชาติ” เรา หนีไม่พ้น เพราะอะไร ? ความทุกข์ที่เป็นธรรมชาติ คือทุกข์ ทางกาย เป็นธรรมชาติล้วน ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วต้องมีความทุกข์ ต้องได้รับ ความทุกข์ มีความเจ็บ ความเสื่อมของรูปอันนี้ ทาให้มีเวทนา ทุกข์กายเกิด ขึ้น แต่ “ความทุกข์ทางใจ” จะเกิดขึ้นด้วยหรือไม่ นั่นอยู่ที่ความสามารถ ของแต่ละคน อยู่ที่ปัญญาของแต่ละคน ว่าจะทุกข์กับมันหรือไม่ ? จะทุกข์ กับความทุกข์ทางกายหรือเปล่า ? จะมีความหดหู่เศร้าหมองกับทุกข์ทางกาย หรือเปล่า ? จะทาให้จิตเราตกนรกเพราะความทุกข์ทางกายหรือเปล่า ? หรือ เป็นแค่เพียงผู้รู้ถึงความทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้น อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา ?
แต.่ . ถา้ ใครไมท่ กุ ขก์ บั ทกุ ขท์ างกายทเี่ กดิ ขนึ้ อนั นนั้ “ไมธ่ รรมดา” ใคร ทุกข์กับกายจนมากเกินควร อันนั้นก็ไม่ธรรมดาอีก เพราะพระพุทธเจ้าบอก ว่า “การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา” แต่สิ่งที่ไม่ธรรมดาคือ คนที่ ไม่ทุกข์กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น กับความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม ของกายของ ใจ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องว่า เป็นอริยะหรือเป็นอรหันต์ผู้ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ กับสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการปฏิบัติ สอนให้เรา รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ รู้ว่าทุกข์ดับแล้วเป็น อย่างไร เขาเรียก “นิโรธ” รู้ว่าทุกข์ดับ
เพราะฉะนั้น พิจารณาเรื่องทุกข์ เรื่องความเป็นธรรมดาของรูป นาม เรื่องความไม่เที่ยง เรื่องความเป็นอนิจจัง ความเป็นทุกขัง ความเป็น อนัตตา ทีนี้เราจะนาธรรมะของพระพุทธเจ้าข้อไหนมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับ ตัวเรา ? ธรรมะที่จะนามาใช้ เป็นไปเพื่ออะไร ? ถ้าเราจะพ้นจากทุกข์ เรา ก็ต้องมาพิจารณาดูรูปนาม ดูกายดูจิตของเราให้มาก ดูอาการเกิดดับของรูป นาม ของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มาก ให้เข้าใจ ให้เห็นตามความ


































































































   156   157   158   159   160