Page 157 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 157

133
กับ “อารมณ์” ที่เกิดขึ้น เป็น “คนละส่วน” กันเมื่อไหร่ เราก็จะไม่ไหลตาม อารมณ์ หรือไม่คล้อยตามอารมณ์ เป็นเพียงผู้รับรู้ เป็นผู้หลุดออกมาจาก วัฏจักร วัฏสงสาร แม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ เราจะรู้สึกได้ว่า เมื่อไหร่ก็ตาม เรา เป็นเพียงผู้ดู อารมณ์เหล่านั้นเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ และห่างจากตัว หรือไกลตัว จิตที่ทาหน้าที่รู้ จะรู้สึก “อิสระ” จิตที่ทาหน้าที่รู้ จะไม่ถูกอารมณ์นั้นปรุงแต่ง หรือบีบคั้น ให้เกิดความทุกข์ความเศร้าหมองขึ้นมา เป็นแต่เพียงผู้รู้ รู้อย่าง มีสติและปัญญา รู้อย่างเข้าใจในธรรมชาติของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ โลกนี้ก็ยังหมุนไปอยู่ แต่เราไม่หมุนตามโลก หรือไม่ไหลตามโลก ไหลตามกระแส จนเกิดความ ทุกข์ เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ เมื่อเราไม่คล้อยตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น ลองดูว่า สภาพจิตขณะนั้นเป็นอย่างไร ? จิตใจของเราสงบ ผ่องใส ปราศจากกิเลส ปราศจากตัวตน หรือเปล่า ? นี่คือสิ่งที่เราต้องพิจารณา
ทีนี้เราจะกังวลว่า แล้วความไม่มีกิเลสของเราชั่วขณะนี้ ไม่มีจริง ๆ หรือเปล่า ? หรือยังมีกิเลสที่ละเอียดซ่อนอยู่ ? อันนั้นอย่ากังวลเลย อันไหน ไม่เกิด ไม่เห็น แสดงว่าไม่มี อันไหนมันมี เราก็จะเห็น อันไหนมี ถึงเวลามัน ก็เกิดขึ้น เมื่อไฟไม่สว่าง จะบอกว่ามีไฟอยู่ได้ยังไง ? ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้น เรา จะบอกว่ามีดวงอาทิตย์ได้ไหม ? มีอยู่ที่ไหนในเมื่อเราไม่เห็น ? แสดงว่าทุก อย่างก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย พอถึงเวลาดวงอาทิตย์ก็มา ถึงเวลาดวงอาทิตย์ ก็ไป
เวลาดวงอาทิตย์ไป เรารู้สึกยังไง ? ดวงอาทิตย์หมดไป เรายังร้อนอยู่ หรือเปล่า ? พอดวงอาทิตย์ขึ้นมา ความร้อนก็เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์หายไป ความร้อนก็หายไป นั่นแหละ.. กิเลสเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ เราก็รู้ว่าเป็นอย่างไร ความทุกข์เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ เราก็รู้ว่าเป็นอย่างไร เมื่อทุกข์ดับไป อะไรเกิด ขึ้นมา ? ความทุกข์หมดไป ใจเราเป็นอย่างไร ? ไม่ใช่ความทุกข์ดับไปแล้ว


































































































   155   156   157   158   159