Page 160 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 160

136
ความสุขกับความทุกข์อันไหนมีกาลังมากกว่ากัน ? อันไหนเกิดบ่อยกว่ากัน ? ถ้าเรามีเจตนาที่จะรู้ หรือตั้งใจที่จะพิจารณาดู เราก็จะรู้ว่า วันหนึ่ง ๆ จิตเรา อยู่กับอะไร.. อยู่กับความทุกข์หรือความสุขมากกว่ากัน ? หรืออยู่กับความ เฉย ๆ มากกว่ากัน ? อยู่กับความสุข อยู่กับความทุกข์ หรืออยู่แบบเฉย ๆ ไม่รู้สึกทุกข์ ไม่รู้สึกสุข ไม่รู้สึกร้อน ไม่รู้สึกหนาว ? คงเก่งน่าดูนะ ใครที่ ไม่รู้สึกร้อนไม่รู้สึกหนาว
การที่พิจารณาตรงนี้ การที่เรามาดูสภาพจิตของเรา เราจะเห็นว่า สภาพจิตในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การดูสภาพจิตใจของเรา เวลามีความทุกข์เกิดขึ้นมา เราจะดับอย่างไร ? ดับแบบไหน ? ความทุกข์ดับ เร็วมากขึ้น ? ดับได้ง่าย ? หรือดับได้ช้า ? ความทุกข์ประเภทไหนที่เราดับ ได้เร็ว ? การพิจารณาตรงนี้จะได้รู้ว่า เราจะเอาธรรมะข้อไหนมาใช้กับเรื่อง อะไรในชีวิตของเรา ในแต่ละขณะ ในแต่ละเรื่อง
แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ใช้ได้ตลอดเวลา ถ้าใครหมั่นนามาใช้ จะมีคุณ อย่างมาก มีประโยชน์อย่างมาก คือน้อมความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน น้อมระลึก นึกถึงความเป็นอนัตตา พิจารณาดูจิตของเราว่ามีตัวตนไหม ? มีอารมณ์นี้ เกิดขึ้น แล้วมีตัวตนเป็นผู้รับรู้ไหม ? หรือมีแต่สติรับรู้เท่านั้นเอง ? มีแต่ ความรู้สึกที่ว่าง ๆ ทาหน้าที่รับรู้ พอได้ยินเสียงที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น เสียง ที่ไม่ดีเกิดขึ้น (ไม่ใช่เสียงที่ไม่ชอบนะ) ขณะที่รับรู้อยู่นั้น มีความไม่ชอบเกิด ขึ้นไหม ? หรือว่ามีตัวตนหรือเปล่า ? ถ้ามีตัวตน มีความไม่ชอบเกิดขึ้น ดับ อย่างไร ?
ถ้าน้อมระลึกถึงความไม่มีตัวตน ลองดู.. การรับรู้อารมณ์นั้นยังไม่ ชอบอยู่อีกไหม ? หรือแค่รู้ว่าเป็นเสียงที่ไม่ดี ? นี่คือธรรมะ ถ้าใครน้อมมา ใช้บ่อย ๆ จะมีประโยชน์อย่างมาก จะมีอานิสงส์มาก จะทาให้ความทุกข์ น้อยลง หรือเป็น “ตัวป้องกัน” ป้องกันอกุศลที่จะเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กลายเป็นการสารวมอินทรีย์ไปในตัว เขาเรียก “อินทรีย์สังวร” สารวม


































































































   158   159   160   161   162