Page 161 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 161

137
อินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อไหร่ก็ตามที่ใช้ความรู้สึกที่ไม่มีตัวตนเป็นผู้รับรู้อารมณ์ ลอง
สังเกตดูว่า การรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นไปในลักษณะอย่างไร ? อารมณ์เหล่านั้นเข้ามาปรุงแต่งจิตได้หรือไม่ ? หรือเป็นเพียงแต่อารมณ์ที่ เกิดขึ้น และเป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น ? คาว่า “เป็นไปตามธรรมชาติ” นั้นอย่างไร ? “เป็นไปตามธรรมชาติ” คือ ถ้าหูเราดี ย่อมมีการได้ยิน และ หน้าที่ของหูคือ ได้ยินทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี อยู่ที่เราจะเลือกแล้ว ตรง นี้คืออยู่ที่ “ปัญญา” ว่าจะเลือกอะไร ? ให้ความสาคัญกับเรื่องไหน ? เรื่อง ที่ดีหรือไม่ดี ?
ถ้าให้ความสาคัญในเรื่องที่ไม่ดี เราก็จะฟัง สนใจแต่เรื่องที่ไม่ดี ใจ เราก็จะไม่ดี ได้ยินเสียงอะไรก็ไม่ดี แต่ถ้าเราสนใจ ให้ความสาคัญในส่วน ที่ดี เสียงอะไรเกิดขึ้นมาก็ดี เสียงจิ้งหรีดก็ดี เสียงเครื่องยนต์ก็ดี เสียงคน ก็ดี เสียงเครื่องจักรก็ดี เมื่อเรารับรู้ในส่วนที่ดี ดีตรงไหน ? ดีตรงที่เรามี “สติ” รู้ แล้วเรื่องเหล่านั้นไม่มารบกวนจิตใจของเรา ไม่มาทาให้จิตเราเศร้า หมอง รู้ว่าเขาเป็นอย่างนั้นแหละ.. เมื่อมีเสียง เขาก็ต้องดัง เสียงดังนั่นแหละ ถึงเรียกว่า “เสียง” ถ้าไม่ดัง คงไม่เรียกว่าเสียง ถ้าไม่ดัง เขาเรียกว่า “ความ เงียบ” ไม่ได้ยิน เขาเรียกว่า “ความเงียบ” มีเสียงก็ต้องได้ยิน หน้าที่ของหู ถ้าหูดีย่อมได้ยิน จึงได้ยินทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี ตรงนั้นน่ะสิ่งที่เราเลือก
การรับรู้อย่างไม่มีตัวตน ไม่มีเราเป็นผู้รับรู้ มีแต่ “สติ” หรือ “จิต” หรือ “ความรู้สึก” ที่ทาหน้าที่รับรู้ตามธรรมชาติ และทาความเข้าใจ เห็นถึง ความเป็นไปของเขาว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร นั่นแหละคือสิ่งสาคัญ ในการรักษาจิตของตน หรือทาจิตของตนให้ขาวรอบ แล้วที่บอกว่า การ ขัดเกลาจิตใจของเราให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ก็คือการพิจารณาอาการเกิดดับของ รูปนาม ของจิตตัวเอง แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเอง ก็มีการ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง.. เกิดขึ้น ตั้ง


































































































   159   160   161   162   163