Page 181 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 181

157
สภาพธรรมโดยธรรมชาติ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เนือง ๆ มีความ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก่อนหน้านั้นก็รู้ว่ามีความทุกข์ มีอนิจจัง แต่ไม่รู้ ว่าอนัตตาเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงแสดงถึงเรื่องปัญญา พิจารณาสภาว- ธรรมของรูปนามที่เกิดขึ้นและเป็นไปอยู่เนือง ๆ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พูดถึงปฏิจจสมุปบาท การเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีที่สิ้นสุด ของชีวิตของคนเราหรือสัตว์โลกต่าง ๆ เกิดเมื่อไหร่ ตายแล้วไปไหน ไป เกิดเมื่อไหร่อีก จะจบยังไงไม่รู้ แต่เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรม นามาแสดง ให้รู้ว่าวิธีการที่จะออกจากทุกข์นั้นทาอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงสอนให้รู้ถึง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาอาการของรูปนามขันธ์ห้า
รูปนามขันธ์ห้า คือ กายกับใจของเราที่กาลังเป็นไปอยู่เนืองนิจ ทุก วัน ๆ นี่แหละ เขาประกาศธรรมของเขาอยู่ทุกวัน ตั้งแต่เล็กจนโต จนใหญ่ จนแก่ จนเฒ่า แล้วก็ตายไป คนเราเกิดขึ้นมา จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้สูงวัย แก่ไป ตายไป ถ้ายังมีกรรมต้องใช้ ก็เกิดใหม่อีก เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่ สิ้นสุด เขาเรียก มีภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสสะ อุปายาสะ เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด แต่เมื่อมีปัญญาพิจารณารู้ตาม ความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงตรงไหน ? พิจารณาดูกายกับใจ ว่าเป็น ส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน...
เมื่อพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงว่ากายใจนี้คนละส่วนกัน กายใจ คืออะไร ? จิตของเรานั่นแหละกับร่างกาย ก็เป็นคนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่ รู้กับความคิด ก็เป็นคนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่รู้กับความปวดกับเวทนา ก็ เป็นคนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่รู้กับความจาสัญญา เรื่องเก่า ๆ เรื่องที่ผ่าน มา ก็เป็นคนละส่วนกัน แม้ตัวจิตเองก็ยังไม่เป็นของใคร มีการเกิดขึ้น ทา หน้าที่รับรู้ แล้วก็ดับไป เป็นขณะ เป็นขณะ อยู่เนือง ๆ ไม่ได้บอกว่าเป็น ของเราหรือของใคร


































































































   179   180   181   182   183