Page 183 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 183

159
เรา แต่ถ้าเห็นจริง ๆ จะเห็นว่ารูปนามกายใจเป็นคนละส่วนกัน เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงแยกออกมาเป็นขันธ์ห้า เป็นห้ากอง เป็นคนละส่วนกัน แยก ส่วนให้เห็นให้รู้อยู่แล้ว แต่ทาไมเราไม่เห็นตามนั้น ? เพราะว่าการพิจารณา สภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้น เราไม่ค่อยได้พิจารณาหรือใส่ใจพิจารณาเท่าที่ควร คิดว่าธรรมะเป็นเรื่องอยู่ไกลตัว บางคนรู้สึกว่าธรรมะอยู่ไกลตัว ไกลมาก ห่างมาก ห่าง... ถ้าเป็นระยะเวลาก็สองพันกว่าปีมาแล้ว
จริง ๆ แล้วสภาวธรรมหรือธรรมะไม่ได้อยู่ไกลเลย ธรรมะคือชีวิต ของเรา คือรูปนามอันนี้นี่แหละ สิ่งที่กาลังปรากฏกับชีวิตของเราทุกวัน ทุกนาที ทุกชั่วโมงที่กาลังเป็นอยู่นี้ อย่างพูดถึงรูปถึงร่างกาย ก็คือร่างกายอันนี้ กาลังตั้งอยู่นี้แหละ รูปอันนี้แหละ ที่กาลังนั่งอยู่นี้ ที่เรียกว่าเป็นรูป ร่างกาย อันนี้จัดเป็นรูป จิตล่ะ เป็นจิตดวงไหนที่ทาหน้าที่รู้ ? ก็คือจิตที่กาลังทาหน้าที่ รู้ว่านั่งอยู่นี่แหละ ตรงนี้แหละจิตหรือตัววิญญาณรู้ นี่คือขันธ์ เป็นสองขันธ์ แล้ว เป็น “รูปขันธ์” อย่างหนึ่ง “วิญญาณขันธ์” อย่างหนึ่ง
แล้วอีกสามขันธ์คืออะไร ? คือ เวทนาอีกขันธ์หนึ่ง เวทนาที่เรารู้สึก ปวดเมื่อยชาคัน สุขทุกข์ หรือเฉย ๆ ขณะนี้แหละ เขาเรียก “เวทนาขันธ์” เวทนาขันธ์ ก็คือ ทางกายอย่างหนึ่ง ทางกาย คือ เจ็บปวดเมื่อยชาคัน ทางใจ อีกอย่างหนึ่ง คือ รู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา ไม่ว่าจะเป็นโสมนัสหรือโทมนัส ก็จัดเป็นเวทนาทางใจ ตรงนี้จัดเป็นอีกขันธ์หนึ่ง
“สังขารขันธ์” สังขารไม่ใช่แค่ร่างกายที่ถูกปรุงแต่งด้วยธาตุสี่ สังขาร ขันธ์อีกอย่างหนึ่งที่ทาให้เราทุกข์มาก ๆ ก็คือจิตสังขาร คือจิตเราคิดปรุงแต่ง ไปต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะอาศัยเรื่องในอดีต หรือเรื่องในอนาคตก็ตาม ปรุง แต่งเรื่องที่จะเป็นไปในอนาคต เกิดความกังวล ความกลัว ความเครียดขึ้น นั่นแหละคือตัวสังขารขันธ์ เมื่อปรุงแต่งแล้วเข้าไปหลงคลุกคลียึดติด ก็เกิด ความทุกข์กับการปรุงแต่งของตนเอง หรือว่า “เรา” เป็นคนปรุงแต่ง ความ ทุกข์ก็เกิดขึ้น ตรงนี้คือปรุงแต่งไปในอนาคต


































































































   181   182   183   184   185