Page 185 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 185

161
ทีนี้ว่า ขันธ์ห้าที่เกิดขึ้น ที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ควรพิจารณา อย่างไร ? นอกจากการพิจารณาถึงความเป็นคนละส่วน ขันธ์แยกกันอยู่เป็น คนละส่วน ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ของเราแล้ว ลองดูว่าเมื่อเห็นอย่างนี้ สภาพ จิตใจจะเป็นอย่างไร ? เวลามีความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้น ลองสังเกตดูว่า ความ คิดที่เกิดขึ้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นส่วนเดียวกันหรือเปล่า ? ตรงนี้เป็นการ แยกนาม ทีนี้สังเกตต่ออีกว่า ความคิดที่เกิดขึ้น เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? จิตที่ทาหน้าที่รู้ความคิด เขาบอกว่าเป็นเรารู้หรือเปล่า ? หรือมีแต่เพียงผู้รู้ กับความคิดที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง ?
การสังเกตแบบนี้เราจะเห็นว่า จริง ๆ แล้ว รูปนามขันธ์ห้าที่พระองค์ ตรัสว่าเป็นคนละขันธ์ เป็นคนละส่วนกัน เราจะเห็นชัด เห็นด้วยตัวเอง ไม่ใช่แค่รู้ แต่ “เห็น” ด้วยตัวเอง เมื่อเห็นแล้ว ทาให้สภาพจิตใจของเราเป็น อย่างไร ? แม้แต่มีเวทนาเกิดขึ้นก็เช่นเดียวกัน แค่สังเกตว่า เวทนาที่ปรากฏ ขึ้นมากับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือเปล่า ? และเวทนาที่ปรากฏ ขึ้นมา เขาบอกไหมว่าเราเป็นคนปวด เราเป็นคนเจ็บ หรือเขาทาหน้าที่ของ เขาเองด้วยเหตุปัจจัย ? สังเกตง่าย ๆ ก็ได้ว่า เวลามีความปวดเกิดขึ้น เรา ห้ามเขาได้ไหม อย่าปวด! อย่าปวด! ? อันนี้เป็นตัวพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า เขา ไม่ได้บอกว่าเป็นเรา และไม่ตกอยู่ในอานาจของใคร แต่กาลังเป็นไปตาม เหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ
ทีนี้ เวทนาที่เกิดขึ้นมาทาให้จิตเราเศร้าหมองขุ่นมัวหรือไม่ ก็อยู่ที่ พิจารณา ตรงนี้เรียกว่า “ปัญญา” เห็นชัดตามความเป็นจริงว่า ความปวดกับ จิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นคนละส่วนกัน จัดการตรงไหน ? เราก็ดูที่จิตที่ทาหน้าที่รู้ ถ้ารู้ชัด ตัวรู้มีกาลัง ก็จะกลายเป็นตัวสติที่มีกาลัง ที่ต่อสู้กับอารมณ์ที่ เกิดขึ้น หรือแยกส่วนกันออก จิตที่ทาหน้าที่รู้เวทนา ก็จะเป็นจิตที่อิสระหรือ ผ่องใสได้ โดยที่เวทนาก็สักแต่เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เวทนาที่กาลังปรากฏขึ้นมาก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ ด้วยเหตุ


































































































   183   184   185   186   187