Page 186 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 186

162
ปัจจัยเป็นอย่างนั้น อาการเหล่านั้นก็ปรากฏขึ้นมา ไม่เกี่ยวกับความอยากให้ มีหรือไม่อยากให้มี ตรงนี้แหละที่เป็นธรรมชาติ อยากให้หาย ไม่หาย อยาก ให้เกิด ไม่เกิด อยากให้หยุด ไม่หยุด... ถึงเวลาเขาก็หยุดเอง
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราคืออะไร ? พิจารณาทาความเข้าใจ แล้ว ปล่อยวาง... ปล่อยอย่างไร ? ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ หรือว่า ให้รู้ชัดในสิ่งที่เขา เป็น แล้วแยกส่วนออกมา ถอยจิตออกมาจากเวทนานั้น เพื่อไม่ให้เวทนา บีบคั้นจิตใจให้มีอกุศลปรากฏขึ้นมา เพราะถ้ามีอกุศลเกิดขึ้น มีความเป็น เราเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ก็จะเป็นตัวที่สร้างภพชาติใหม่ต่อไป โดยอาศัยเวทนา เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทาให้เกิดการปรุงแต่งสร้างภพชาติใหม่ต่อไป
เมื่อไหร่ก็ตามที่พิจารณาเห็นชัดถึงความเป็นคนละส่วน ก็จะเกิด อาการ “หยุด” ไม่ไหลตามเวทนา แต่ถ้าใครมีปัญญาแก่กล้า พิจารณารู้ ถึงอาการเกิดดับของเวทนา ว่ามีการเกิดดับในลักษณะอย่างไร ด้วยเอาจิต เข้าไปรู้อาการเกิดดับของเวทนา พิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ของเวทนา ที่กาลังปรากฏอยู่ ตรงนี้จะทาให้รู้ตามความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งทั้ง หลายทั้งปวงไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา ก็รวมทั้งรูปนามกายใจนี่แหละ หรือรวมของอาการของสังขาร ขันธ์ห้านี้แหละ ตั้งอยู่ในกฏของไตรลักษณ์
เพราะฉะนั้น อาการที่กาลังปรากฏแก่เราขณะนี้คือเวทนา เมื่อเวทนา ปรากฏชัด จึงต้องพิจารณาว่าเวทนาที่ปรากฏขึ้นมานั้น เกิดดับในลักษณะ อย่างไร นอกจากเห็นว่าเวทนากับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นคนละส่วนกันแล้ว พิจารณาอีกว่าเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดดับในลักษณะอย่างไร เพื่อให้สติเรามี กาลังหรือเพื่อความชัดเจนในสภาวธรรมยิ่งขึ้น ควรให้จิตที่ทาหน้าที่รู้ “อยู่ที่ เดียวกับ” อาการเกิดดับของเวทนา แล้วสังเกตว่า เมื่อเวทนามีอาการดับแต่ ละขณะ แต่ละขณะ จิตที่ทาหน้าที่รู้ดับไปด้วยหรือไม่ ?
ตรงนี้จะทาให้เห็นว่ารูปนามกายใจก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือ


































































































   184   185   186   187   188